สอบถาม เทียบเบอร์ IGBT

 เทียบเบอร์   IGBT 

ก่อนอื่นให้สังเกตสัญลักษณ์ของ   IGBT  จะพบว่ามีขา G เหมือนกับมอสเฟต   และ มีขา C  E  เหมือนกับ Transistor  เพราะว่า IGBT นั้นเป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาต่อยอดมาจากทรานซิสเตอร์ BJT และมอสเฟต นั่นเอง       IGBT ย่อมากจาก  Insulated    Gate   Bipolar  Transistor   มันเป็นทรานซิสเตอร์อีกชนิดหนึ่ง ดังนั้นเวลาอ่านสเปคหรือเทียบเบอร์มันจึงคุ้นๆและคล้ายๆกับสเปคของมอสเฟตและทรานซิสเตอร์ BJT ที่เรารู้จักกันในนาม   NPN   PNP

สัญลักษณ์    IGBT

                                                        สัญลักษณ์     IGBT


การเทียบเบอร์เทียบสเปคจะทำเมื่อจำเป็น ถ้าหาเบอร์เดิมได้อยู่ให้ใช้เบอร์เดิมจะดีที่สุดเพราะว่าอุปกรณ์พวก IGBT  SCR  รวมถึงมอสเฟตมันทีค่าทางไฟฟ้าหลายอย่างที่ต้องทดลองผลที่เกิดกับวงจร  กรณีเป็นเบอร์หายากมีความจำเป็นต้องเทียบเบอร์ IGBT  ให้เช็คค่าทางไฟฟ้าต่อไป

1.  ตัวถังและตำเหน่งขาต้องเหมือนเดิม  

2.  โครงสร้างข้างในเหมือนเดิม แต่ละผู้ผลิตจะมีเทคนิคโครงสร้างไม่เหมือนกัน  เช่น   TrenchStop  ,   BIMOSFETT  ,  NPT  ,  XPT    เป็นต้น  

3.  มีไดโอดที่ขา C กับ E หรือ ไม่มีไดโอด    ไดโอดนี้ใช้ป้องกันขา C และ E จากแรงดันเกิน

4.  กำลังไฟฟ้า  Pc  มีหน่วยเป็นวัตต์  ใช้ค่าเท่าเดิมหรือมากกว่าได้

5.  แรงดัน Vce  แรงดันทีทนได้ระหว่างขา C และ  E ใช้ค่าเท่าเดิมหรือมากกว่าได้

6.   กระแส IC    ใช้ค่าเท่าเดิมหรือมากกว่าได้

7)  แรงดัน V GE ( th )  เป็นแรงดันขาเกตขั้นต่ำที่ทำให้  IGBT  ON หรือเริ่มนำกระแส   ( Gate to Emitter Cutoff   Voltage )   ให้ใช้ค่าเท่ากันหรือหรือต่ำกว่าก็ได้   ห้ามใช้ค่าสูงกว่าเนื่องจากต้องใช้แรงดันมากกว่าเพื่อสั่งให้ IGBT   ทำงาน ON

8)  อินพุตคาปาซิแตนซ์ หรือ  Cies ( input capacitance ) มีหน่วยเป็น pF   ตรงขาเกตของ IGBT  มีลักษณะเหมือนคาปาซิเตอร์ค่านี้มีความคำคัญสำหรับงานสวิตชิ่ง  มีผลเรื่องความถี่ในการสวิตชิ่ง    ต้องนำไปคำนวณวงจรขับขาเกต  ( Gate Charge Driver )   ให้ใช้ค่าเท่าเดิมหรือใกล้เคียงค่าเดิมให้มากที่สุด ใช้ค่าน้อยกว่าได้แต่ห้ามใช้ค่ามากกว่าของเดิม  นอกจากนี้ยังมีค่าประจุไฟฟ้า Qg  ( Gate Charge )  มีหน่วยเป็น nC   

9)   ค่าที่เกี่ยวกับระยะเวลาการสวิตชิ่ง  มีผลต่อการทำงานที่ความถี่สูง  ให้ใช้ค่าเท่าเดิม หรือต่ำกว่าเดิม ถ้าใช้ค่าเวลาที่สูงกว่า   มันจะทำงานสวิตชิ่งไม่ทันผลคือวงจรอาจไม่ทำงานหรือเกิดการสูญเสียจากการสวิตชิ่งสูง

td (ON)       =     Turn - On    delay  time   

td (OFF)      =    Turn - Off    delay  time


นอกจากนี้ยังมีค่าทางไฟฟ้าอื่นๆ ให้ดูใน Datasheet ของเบอร์นั้นๆ  การเทียบเบอร์ IGBT สามารถทำได้ระดับหนึ่งเนื่องจากมีสเปคค่าทางไฟฟ้าเยอะ     ถ้าค้นในอินเตอร์เน็ตแล้วยังคงมีเบอร์เดิมในตลาดควรใช้เบอร์เดิมกับวงจรเดิม    มีอีกหนึ่งกรณีที่นิยมทำในการเทียบเบอร์คือ  เทียบเพื่อหาเบอร์ใหม่ที่ใช้ทนกว่าเบอร์เก่า


เลือก หัวข้อ / เรื่อง  เพื่ออ่านเพิ่ม 



ที่    Mebmarket   ได้ทั้ง   Android    และ   IOS
Mebmarket ร้าน  E book ชั้นนำของไทย
ใช้ชื่อหนังสือค้นใน   google ก็เจอ  เช่นกัน 
ชื่อ :   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม