สอบถาม เทียบเบอร์ IGBT

 เทียบเบอร์   IGBT 

ก่อนอื่นให้สังเกตสัญลักษณ์ของ   IGBT  จะพบว่ามีขา G เหมือนกับมอสเฟต   และ มีขา C  E  เหมือนกับ Transistor  เพราะว่า IGBT นั้นเป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาต่อยอดมาจากทรานซิสเตอร์ BJT และมอสเฟต นั่นเอง       IGBT ย่อมากจาก  Insulated    Gate   Bipolar  Transistor   มันเป็นทรานซิสเตอร์อีกชนิดหนึ่ง ดังนั้นเวลาอ่านสเปคหรือเทียบเบอร์มันจึงคุ้นๆและคล้ายๆกับสเปคของมอสเฟตและทรานซิสเตอร์ BJT ที่เรารู้จักกันในนาม   NPN   PNP

สัญลักษณ์    IGBT

                                                        สัญลักษณ์     IGBT


การเทียบเบอร์เทียบสเปคจะทำเมื่อจำเป็น ถ้าหาเบอร์เดิมได้อยู่ให้ใช้เบอร์เดิมจะดีที่สุดเพราะว่าอุปกรณ์พวก IGBT  SCR  รวมถึงมอสเฟตมันทีค่าทางไฟฟ้าหลายอย่างที่ต้องทดลองผลที่เกิดกับวงจร  กรณีเป็นเบอร์หายากมีความจำเป็นต้องเทียบเบอร์ IGBT  ให้เช็คค่าทางไฟฟ้าต่อไป

1.  ตัวถังและตำเหน่งขาต้องเหมือนเดิม  

2.  โครงสร้างข้างในเหมือนเดิม แต่ละผู้ผลิตจะมีเทคนิคโครงสร้างไม่เหมือนกัน  เช่น   TrenchStop  ,   BIMOSFETT  ,  NPT  ,  XPT    เป็นต้น  

3.  มีไดโอดที่ขา C กับ E หรือ ไม่มีไดโอด    ไดโอดนี้ใช้ป้องกันขา C และ E จากแรงดันเกิน

4.  กำลังไฟฟ้า  Pc  มีหน่วยเป็นวัตต์  ใช้ค่าเท่าเดิมหรือมากกว่าได้

5.  แรงดัน Vce  แรงดันทีทนได้ระหว่างขา C และ  E ใช้ค่าเท่าเดิมหรือมากกว่าได้

6.   กระแส IC    ใช้ค่าเท่าเดิมหรือมากกว่าได้

7)  แรงดัน V GE ( th )  เป็นแรงดันขาเกตขั้นต่ำที่ทำให้  IGBT  ON หรือเริ่มนำกระแส   ( Gate to Emitter Cutoff   Voltage )   ให้ใช้ค่าเท่ากันหรือหรือต่ำกว่าก็ได้   ห้ามใช้ค่าสูงกว่าเนื่องจากต้องใช้แรงดันมากกว่าเพื่อสั่งให้ IGBT   ทำงาน ON

8)  อินพุตคาปาซิแตนซ์ หรือ  Cies ( input capacitance ) มีหน่วยเป็น pF   ตรงขาเกตของ IGBT  มีลักษณะเหมือนคาปาซิเตอร์ค่านี้มีความคำคัญสำหรับงานสวิตชิ่ง  มีผลเรื่องความถี่ในการสวิตชิ่ง    ต้องนำไปคำนวณวงจรขับขาเกต  ( Gate Charge Driver )   ให้ใช้ค่าเท่าเดิมหรือใกล้เคียงค่าเดิมให้มากที่สุด ใช้ค่าน้อยกว่าได้แต่ห้ามใช้ค่ามากกว่าของเดิม  นอกจากนี้ยังมีค่าประจุไฟฟ้า Qg  ( Gate Charge )  มีหน่วยเป็น nC   

9)   ค่าที่เกี่ยวกับระยะเวลาการสวิตชิ่ง  มีผลต่อการทำงานที่ความถี่สูง  ให้ใช้ค่าเท่าเดิม หรือต่ำกว่าเดิม ถ้าใช้ค่าเวลาที่สูงกว่า   มันจะทำงานสวิตชิ่งไม่ทันผลคือวงจรอาจไม่ทำงานหรือเกิดการสูญเสียจากการสวิตชิ่งสูง

td (ON)       =     Turn - On    delay  time   

td (OFF)      =    Turn - Off    delay  time


นอกจากนี้ยังมีค่าทางไฟฟ้าอื่นๆ ให้ดูใน Datasheet ของเบอร์นั้นๆ  การเทียบเบอร์ IGBT สามารถทำได้ระดับหนึ่งเนื่องจากมีสเปคค่าทางไฟฟ้าเยอะ     ถ้าค้นในอินเตอร์เน็ตแล้วยังคงมีเบอร์เดิมในตลาดควรใช้เบอร์เดิมกับวงจรเดิม    มีอีกหนึ่งกรณีที่นิยมทำในการเทียบเบอร์คือ  เทียบเพื่อหาเบอร์ใหม่ที่ใช้ทนกว่าเบอร์เก่า


เลือก หัวข้อ / เรื่อง  เพื่ออ่านเพิ่ม 







ที่    Mebmarket   ได้ทั้ง   Android    และ   IOS
Mebmarket ร้าน  E book ชั้นนำของไทย
ใช้ชื่อหนังสือค้นใน   google ก็เจอ  เช่นกัน 
ชื่อ :   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม





สอบถาม การเทียบเบอร์ SCR หาเบอร์แทน

เทียบเบอร์   SCR  หาเบอร์แทน

การเทียบเบอร์  SCR เพื่อหาเบอร์แทน  ก่อนทำข้ออื่นๆให้เช็คเรื่องพื้นฐานที่สุดก่อนคือให้เช็คตัวถังและตำเหน่งขาของ SCR    ต้องเหมือนกัน  จากนั้นจึงจะเช็คค่าทางไฟฟ้าต่อไป   ดูสัญลักษณ์และตัวอย่างเบอร์ของ SCR  ตามรูปด้านล่าง


เทียบเบอร์  SCR  หาเบอร์แทน
       ตัวอย่างตัวถังของ   SCR   รูปนี้เป็นตัวถังแบบ  TO-220


เทียบเบอร์  SCR    หาเบอร์แทน
                  สัญลักษณ์ของ SCR   มี  3 ขา  คือ   A    K   และ   G



1)  เช็คตัวถังเหมือนกันไหม     ?

2)  ตำเหน่งขาเหมือนกันไหม   ?

3) ประเภทการใช้งานเหมือนกัน เช่น เฟสคอนโทรล  , Switching  เป็นต้น

4)  เช็คค่าทางไฟฟ้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  

4.1   IT (RMS)    กระแส RMS   ใช้ค่าเท่ากันหรือมากกว่าได้

4.2   V (DRM)   =  Repetitive peak off-state voltage  แรงดันที่ทนได้ระหว่างขา A และ K ขณะไม่นำกระแสหรือ OFF   ใช้ค่าเท่ากันหรือมากกว่าได้

4.3   V(GT) และ  I(GT)  แรงดันและกระแสที่ทริกขาเกตเพื่อสั่งให้ SCR ทำงาน ใช้ค่าเท่ากันหรือน้อยกว่าได้

4.4   I(H) = Holding Current  กระแสต่ำสุดที่ SCR สามารถนำกระแสค้างได้เป็นกระแสระหว่างขา A และ K  ใช้ค่าเท่ากันหรือต่ำกว่าได้ อย่าใช้ค่ามากกว่า เพราะ SCR อาจไม่นำกระแสแบบค้างได้เนื่องจากค่ามันสูงไป  

4.5  dV/dt  ค่าอัตราการเปลี่ยนแปลงแรงดันใช้ค่าเท่ากันหรือมากกว่าได้ ถ้าใช้ค่าน้อยกว่า SCR อาจระเบิด

4.6  dI/dt   ค่าอัตราการเปลี่ยนแปลงกระแสใช้ค่าเท่ากันหรือมากกว่าได้ ถ้าใช้ค่าน้อยกว่า SCR อาจระเบิด





หนังสือ   ebook  Google play books

                         หนังสือ  E- book  " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม " 
                             อ่านได้ที่   Google play books     ตามรายละเอียดด้านล่าง



ที่    Mebmarket   ได้ทั้ง   Android    และ   IOS
Mebmarket ร้าน  E book ชั้นนำของไทย
ใช้ชื่อหนังสือค้นใน   google ก็เจอ  เช่นกัน 
ชื่อ :   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม






สาธิตวิธีวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มีรูปประกอบเยอะและมีตัวอย่างชัดๆ  

>   เข้าใจง่ายเพราะมีรูปประกอบจำนวนมาก
>   สะดวกสำหรับยุคนี้  คือ   อ่านผ่าน App " Google Play Books "   ในมือถือ

สำหรับมือใหม่และคนที่สนใจการวัดอุปกรณ์ดีเสียเพื่อซ่อมวงจรและทำงานเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า      หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "  นี้
มีเนื้อหาถึง 15 บท โดยครอบคลุมการวัดอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ   อ่านได้ที่
Google  Play  Books   โดยทำตาม   2   ขั้นตอน   ต่อไปนี้

1)   ลง App  ก่อน  ชื่อแอป  Google Play Books    (อยู่ที่   Play Store  ในมือถือ )
2)  ค้นหาชื่อหนังสือ  ...... ค้นหาผ่าน google  ........ โดยใช้ชื่อหนังสือค้น หรือ ใช้คำค้นว่า  
"  15 Lesson Test Electronic Components (Thai ) การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
หรือ  คลิกตามด้านล่างนี้   จะพาไปยังหน้าหนังสือนี้เลย    ที่  Google Play Books 



ตัวอย่าง หัวข้อในหนังสือ
ครบ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ  หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
มี 15 บท มีให้อ่านที่ร้านอีบุ๊คชั้นนำ    Google Play Books  
และ   MEBMARKET 
หนังสือสำหรับ ช่างซ่อม นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิค อาชีวะ สายอาชีพ และผู้ทีสนใจหนังสือช่าง   
สารบัญมี    15 บท  ดังนี้
1)   วิธีวัดไอจีบีที       2)  วิธีวัดมอสเฟต     3) วิธีวัดไตรแอค     4)  วิธีวัดเอสซีอาร์    
5)   วิธีวัดทรานซิสเตอร์   6)   วิธีวัดไอซี  DIP   8   ขา  16 ขา   20  ขา      7)  วิธีวัดไอซี  OPTO     
8)   วิธีวัดไอซีเร็กกูเลเตอร์ตระกูล  78XX   79XX
9)   วิธีวัดไอโอด     10)  วิธีวัดซีเนอร์ไดโอด     11)   วิธีวัดไดโอดบริดจ์  ขัั้นเทพ   
12)    วิธีวัด LED    13)  วิธีวัดตัวต้านทาน     14)  วิธีวัดตัวต้านทานปรับค่าได้  วัด VR     
15)   วิธีวัดคาปาซิเตอร์  

สอบถาม เทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์

ก่อนทำข้ออื่นๆเกี่ยวกับการเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์ให้เช็คก่อนว่าทรานซิสเตอร์มีประเภทการใช้งานที่เหมือนกัน เช่น  ใช้งานสวิตชิ่ง  ใช้ขยายสัญสัญญาณเสียง   ใช้เป็นสวิตพื้นฐาน  ใช้งานพาวเวอร์เช่นรักษาระดับแรงดัน  จากนั้นค่อยเช็คตัวถัง   ตำเหน่งขา โครงสร้างและค่าทางไฟฟ้าอื่นๆต่อไป


เทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์  เบอร์แทน
 ตัวอย่างตัวถังของทรานซิสเตอร์  ตามรูปนี้เป็นตัวถังแบบ  TO-247


เทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์  เบอร์แทน
     โครงสร้างและสัญลักษณ์ของทรานซิสเตอร์ชนิด NPN และ PNP



1)   เช็คประเภทการใช้งานเหมือนกัน    ?

2)   ตัวถังและตำเหน่งขาเหมือนกัน       ?

3)   ชนิดโครงสร้างเหมือนกันคือ NPN  หรือ PNP    ?  รวมถึงวัสดุว่าเป็นชนิดซิลิกอนหรือเจอรมันเนียม

4)   เช็คค่าทางไฟฟ้าเท่าที่จะทำได้ มีค่าต่อไป  

4.1      P   กำลังไฟฟ้ามีหน่วยเป็นวัตต์ ค่าต้องเท่ากันหรือมากกว่าได้

4.2      Ic ( Collector current ) กระแสขา  C    ค่าต้องเท่ากันหรือมากกว่าได้

4.3     แรงดัน Vceo  แรงดันทนได้สูงสุดระหว่างขา C และ E    ค่าต้องเท่ากันหรือมากกว่าได้

4.4     อัตราขยาย  hFE     เท่ากันหรือใกล้เคียงได้ แต่อย่าใช้ค่าต่ำกว่า

4.5    ค่าความถี่  F(T)   =  Transition frequency  ใช้ค่าเท่ากันหรือใกล้เคียงได้ อย่าใช้ค่าสูงกว่ามากเพราะความถึ่สูงอาจจะเข้าไปในวงจรและรบกวนการทำงาน และอย่าใช้ค่าที่ต่ำกว่าของเดิมมาก





หนังสือ   ebook  Google play books

                         หนังสือ  E- book  " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม " 
                             อ่านได้ที่   Google play books     ตามรายละเอียดด้านล่าง



สาธิตวิธีวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มีรูปประกอบเยอะและมีตัวอย่างชัดๆ  

>   เข้าใจง่ายเพราะมีรูปประกอบจำนวนมาก
>   สะดวกสำหรับยุคนี้  คือ   อ่านผ่าน App " Google Play Books "   ในมือถือ

สำหรับมือใหม่และคนที่สนใจการวัดอุปกรณ์ดีเสียเพื่อซ่อมวงจรและทำงานเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า      หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "  นี้
มีเนื้อหาถึง 15 บท โดยครอบคลุมการวัดอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ   อ่านได้ที่
Google  Play  Books   โดยทำตาม   2   ขั้นตอน   ต่อไปนี้

1)   ลง App  ก่อน  ชื่อแอป  Google Play Books    (อยู่ที่   Play Store  ในมือถือ )
2)  ค้นหาชื่อหนังสือ  ...... ค้นหาผ่าน google  ........ โดยใช้ชื่อหนังสือค้น หรือ ใช้คำค้นว่า  
"  15 Lesson Test Electronic Components (Thai ) การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
หรือ  คลิกตามด้านล่างนี้   จะพาไปยังหน้าหนังสือนี้เลย    ที่  Google Play Books 



ตัวอย่าง หัวข้อในหนังสือ
ครบ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ  หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
มี 15 บท มีให้อ่านที่ร้านอีบุ๊คชั้นนำ    Google Play Books  
และ   MEBMARKET 
หนังสือสำหรับ ช่างซ่อม นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิค อาชีวะ สายอาชีพ และผู้ทีสนใจหนังสือช่าง   
สารบัญมี    15 บท  ดังนี้
1)   วิธีวัดไอจีบีที       2)  วิธีวัดมอสเฟต     3) วิธีวัดไตรแอค     4)  วิธีวัดเอสซีอาร์    
5)   วิธีวัดทรานซิสเตอร์   6)   วิธีวัดไอซี  DIP   8   ขา  16 ขา   20  ขา      7)  วิธีวัดไอซี  OPTO     
8)   วิธีวัดไอซีเร็กกูเลเตอร์ตระกูล  78XX   79XX
9)   วิธีวัดไอโอด     10)  วิธีวัดซีเนอร์ไดโอด     11)   วิธีวัดไดโอดบริดจ์  ขัั้นเทพ   
12)    วิธีวัด LED    13)  วิธีวัดตัวต้านทาน     14)  วิธีวัดตัวต้านทานปรับค่าได้  วัด VR     
15)   วิธีวัดคาปาซิเตอร์  

สอบถาม C คาปาซิเตอร์ใช้แทน ถ้าเปลี่ยนค่าความจุของ C จะเกิดอะไรขึ้น ?

คาปาซิเตอร์ใช้แทนใช้แทนได้ไหม และแนวทาง


คาปาซิเตอร์  ใช้แทน  ตัวเก็บประจุ ใช้แทน
                                 ตัวอย่าง   ลักษณะของ C แต่ละชนิด


คาปาซิเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เยอะในวงจรเช่นเดียวกับตัวต้านทาน  อุปกรณ์ 2 ชนิดนี้จีงมีสต๊อคเยอะตามร้านอะไหล่ด้วย  การหาอะไหล่แทนจึงทำได้ง่ายและนิยมทำ   ก่อนอื่นมาพิจารณาว่าถ้าเปลี่ยนค่าความจุของ  C  จะเกิดอะไรขึ้น ?  ยกสมการของ C มาพิจารณา  

Xc   =  2πfc  


การเปลี่ยนค่า C จะมีผลทำให้ค่า Xc  เปลี่ยนไป ซึ่งค่า Xc  นี้จะมีผลต่อกระแสและแรงดันของวงจรเปลี่ยนไปด้วย การเปลี่ยนค่า C ทำให้ความถี่  f และระยะเวลาการเก็บประจุและคายประจุของ C  เปลี่ยนไป           สรุปผลกระทบหลังจากเปลี่ยนค่า C  ทำให้ค่าทางไฟฟ้า 4  อย่างนี้เปลี่ยนไปคือ  กระแส   แรงดัน  ความถี่  และเวลา



คาปาซิเตอร์  ตัวเก็บประจุ  ใช้แทน


การหา  C   ใช้แทนอย่างน้อยต้องพิจารณา

1)  ค่าความจุต้องเท่ากัน  บางหน้าที่สามารถใช้ค่าใกล้เคียงได้เช่น C ที่ทำหน้าที่ลดสัญญาณรบกวน

2)   แรงดันของ C ต้องเท่ากันหรือมากกว่าได้ 

3)   ชนิดของ C ต้องเหมือนกันหรือเป็น C  ชนิดที่ดีกว่าได้   เช่น ชนิดเมตัลไลต์ฟิล์ม ดีกว่าชนิดไมล่า

      C   แบบเดิมไม่มีขั้ว ต้องใช้ C  แบบไม่มีขั้วเหมือนเดิม

4)   หน้าที่ของ C ต้องเหมือนกัน  โดยปกติจะมีความสัมพันธ์กับชนิดของ C 


ອຸປະກອນອີເລັກໂທນິກ



เลือก หัวข้อ  / เรื่อง  อ่านต่อ

สอบถาม R ตัวต้านทาน ใช้แทน ถ้าเปลี่ยนค่าความต้านทานจะเกิดอะไรขึ้น ?

ตัวต้านทานใช้แทนได้ไหมและแนวทาง

ตัวต้านทานตัวนี้ใช้แทนได้ไหม   ?   ตัวต้านทานที่เสียหรือไหม้หาตัวใหม่มาแทนได้ไม่ยาก  เนื่องจากร้านอะไหล่มีสต๊อคเยอะ มีหลายค่าและหลายร้านให้เลือก
 1)  ให้ใช้ตัวต้านทานที่มีค่าเท่าเดิม    2)  กำลังไฟฟ้าหรือวัตต์  ใช้เท่ากันหรือมากกว่าได้  
3)  ชนิด  ใช้ชนิดแบบเดิมหรือชนิดที่ดีกว่าได้     ใหัสังเกตสีและลักษณะตัวต้านทาน ชนิดเหมือนกันจะมีลักษณะเหมือนกัน


ตัวต้านทาน ใช้แทน


ตัวต้านทาน ใช้แทน


ถ้าเปลี่ยนค่าความต้านทานจะเกิดอะไรขึ้น   ?   
พิจารณาสมการตามกฏของโอห์ม  แรงดัน  เท่ากับกระแสคูณด้วยความต้านทาน   

V =  I  x  R   

นั่นคือแค่เปลี่ยนค่า R ทำให้กระแสและแรงดันในวงจรเปลี่ยนไปด้วย  นี้คือหลักการที่สำคัญและการทำงานของตัวต้านทาน  ผลกระทบจากเปลี่ยนค่าความต้านบอกได้กว้างๆว่า 2 ค่าทางไฟฟ้านี้จะเปลี่ยนไป  
อาจทำให้อุปกรณ์ตัวอื่นๆในวงจรทำงานเปลี่ยนไปด้วย  ให้ระวังผลกระทบที่ตามมาจากการเปลี่ยนค่า R    ยกเว้นว่าเข้าใจการทำงานของวงจรและต้องการปรับปรุงการทำงานของวงจรให้ดีขึ้น   

ดังนั้นงานซ่อมกรณีทั่วไปไม่ควรเปลี่ยนค่า R ของวงจร  เนื่องจากทำให้ค่าทางไฟฟ้าคือ กระแสและแรงดันของวงจรเปลี่ยนไป   ตัวต้านทานค่าเดิมหาได้ง่ายและมีหลายร้านที่มีสต๊อค


เลือก หัวข้อ / เรื่อง  เพื่ออ่านเพิ่ม 


เบอร์แทนไดโอด หาเบอร์แทน

เบอร์แทนไดโอด    และ   แนวทางเทียบเบอร์ไดโอด


เบอร์แทนไดโอด  หาเบอร์แทน


ไดโอดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลายตัวในหนึ่งวงจร เพราะใช้ทั้งวงจรไฟ AC และ DC  ทั้งในส่วนที่เป็นพาวเวอร์และส่วนที่เป็นสัญญาณ      ทำหน้าที่เรียงกระแส  ป้องกันแรงดันเกินให้กับอุปกรณ์ตัวอื่นๆ ,  ป้องกันการต่อผิดขั้วสลับขั้ว ,  Switching    ,  Small Signal  , งาน POWER   เป็นต้น  ไดโอดสเปคธรรมดานั้นหาง่ายและเทียบเบอร์ได้ไม่ยาก  
ให้เช็คสเปคที่สำคัญ เช่น

-    แรงดัน   PRV  Max    =   Peak   Reverse  Voltage    ค่า V เท่ากันหรือสูงกว่าใช้แทนได้
     เป็นแรงดันที่ทนได้ขณะไดโอดถูกไบอัสกลับ
-    กระแส   Io   Max  = Average  Rectified   Current    ค่ากระแสเท่ากันหรือสูงกว่าใช้แทนได้  
-    แรงดันตกคร่อม VF   แรงดันตกคร่อมยิ่งน้อยยิ่งดี จะมีการสูญเสียที่ตัวไดโอดน้อยไปด้วย
-    กรณีใช้งาน Switching ความถี่สูง   ต้องเช็คความเร็ว trr  = reverse   recovery  time   คือระยะเวลาคืนตัว    ค่า trr  ของไดโอดต้องใกล้เคียงกัน หรือ มีความเร็วมากกว่าตัวเดิมยิ่งดี ( ค่า trr ยิ่งน้อยยิ่งเร็ว )


ตัวอย่างการแยกประเภทไดโอดตามประเภทการใช้งาน    เช่น 

1)  ใช้งานทั่วไป  ( General purpose )  วงจรความถี่ต่ำ  วงจรไฟ DC
2)   Fast    Switching    ใช้งานความถี่สูง เช่น วงจรอินเวอเตอร์   แหล่งจ่ายไฟแบบสวิตชิ่ง
3)   Fast   Recovery      คืนตัวเร็ว เน้นความเร็วเป็นพิเศษ  และ  ใช้งานความถี่สูง  มีค่าเวลา  trr ให้เลือกหลายค่าว่ามันเร็วแค่ไหน  เช่น    200ns    150ns   120ns   เป็นต้น

ให้ดูประเภทและสปคของไดโอดตัวเก่าก่อน   แล้วนำมาเทียบกับเบอร์แทน   
นอกจากนั้นต้องเช็คตัวถังและขนาดว่าใส่ได้ไหม ?     ถ้าเป็นแบบเกลียวต้องเช็คขนาดเกลียวด้วย    สำหรับไดโอดหลายตัวรวมเป็นมอดูล อยู่ในเคสเดียวกัน  ต้องเช็คตำเหน่งขาและระยะขา  ข้างในอาจมีไดโอด 2 ตัว  3 ตัวหรือ 4 ตัว    ถ้างานไม่รีบจริงๆให้ใช้ไดโอดเบอร์เดิมเพราะไดโอดเบอร์เดิมหาได้ไม่ยาก    วงจรพื้นฐานใช้เบอร์แทนได้โดยไม่มีปัญหา



วิธีการใช้มัลติมิเตอร์      วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 มี    15   ตอน   การใช้งานมัลติมิเตอร์     เพื่อวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 -    เช็คดีเสียเป็น    
 -    วัดอุปกรณ์เป็น   ครบอุปกรณ์ที่สำคัญ
 -      เตรียมตัวไปทำงาน หรือ สมัครงาน  มีพื้นฐานดี  สามารถต่อยอดไปได้ไกล  
        บริษัทหรือหน่วยงานต่างๆต้องการคนที่มีพื้นฐานดีและเตรียมพร้อมจะทำงาน  
        เมื่อเข้าไปทำงานแล้วใช้เวลาเรียนรู้งานไม่มาก
-       ลดต้นทุน    ใช้ของให้คุ้มค่า    อุปกรณ์หายากแล้วจำเป็นต้องซ่อมเพื่อใช้งานต่อ  
        ทำงานเกี่ยวกับการซ่อมบำรุง


อ่านได้ที่     Google  play   books    
กดที่รูปปกหนังสือ (รูปที่  1)    จะไปยังหน้าเพจหนังสือให้


หนังสือ   ebook  Google play books

         รูปปก   หนังสือ  E- book  " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม " 
                         อ่านได้ที่   Google play books   มี   15  เรื่องในเล่ม   


อ่านที่   Mebmarket   ได้ทั้ง   Android   และ  IOS
Mebmarket ร้าน  E book ชั้นนำของไทย
ใช้ชื่อหนังสือค้นใน   google ก็เจอ  เช่นกัน 
ชื่อ :   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม








ตัวอย่าง หัวข้อในหนังสือ
ครบ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ  หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สาหรับงานซ่อม "
มี 15 บท มีให้อ่านที่ร้านอีบุ๊คชั้นนำ    Google Play Books  
และ   MEBMARKET 
หนังสือสำหรับ ช่างซ่อม นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิค อาชีวะ สายอาชีพ และผู้ทีสนใจหนังสือช่าง   
สารบัญมี    15 บท  ดังนี้
1)   วิธีวัดไอจีบีที       2)  วิธีวัดมอสเฟต     3) วิธีวัดไตรแอค     4)  วิธีวัดเอสซีอาร์    
5)   วิธีวัดทรานซิสเตอร์   6)   วิธีวัดไอซี  DIP   8   ขา  16 ขา   20  ขา      7)  วิธีวัดไอซี  OPTO     
8)   วิธีวัดไอซีเร็กกูเลเตอร์ตระกูล  78XX   79XX
9)   วิธีวัดไดโอด     10)  วิธีวัดซีเนอร์ไดโอด     11)   วิธีวัดไดโอดบริดจ์  ขั้นเทพ   
12)    วิธีวัด LED    13)  วิธีวัดตัวต้านทาน     14)  วิธีวัดตัวต้านทานปรับค่าได้  วัด VR     
15)    วิธีวัดคาปาซิเตอร์  
อ่านได้ที่     Google  play   books    
กด    รูปปกหนังสือ (รูปที่  1)    จะไปยังหน้าเพจหนังสือให้

อ่านค่าสีตัวต้านทาน R ตัวนี้อ่านค่าได้กี่โอห์ม บางครั้งง่าย บางครั้งยาก

อ่านค่าสีตัวต้านทาน และแนวทางพิจารณา


อ่านค่าสีตัวต้านทาน


R  ตัวนี้อ่านค่าได้กี่โอห์ม  ?   ทำไมบางครั้งจึงง่าย  บางครั้งจึงยาก  ?    ตัวท้านทานที่ไหม้ หรือตัวต้านทานที่เก่ามากมาก  แถบสีจะจางเสียหายมากและไม่มีแถบสีให้อ่านค่าเลย   เคสเแบบนี้ต้องเช็คค่า R จากคู่มือหรือลายวงจรของเครื่อง   อาจดูจากเครืองอื่นๆที่วงจรยังปกติ    อีกหนึ่งปัญหาของการอ่านค่าสีตัวต้านทานคือ ด้านไหนเป็น % คลาดเคลื่อน   ?   และ ด้านไหนเป็นแถบสีที่ 1      วิธีการที่ง่ายคือให้เทียบกับตัวมาตรฐาน   ด้าน % คลาดเคลื่อนจะเป็นสีน้ำตาล =  ± 1%     ,  ทอง  =  ± 5%      

ปกติวงจรใน 1 วงจรจะมีตัวต้านทานเยอะ  ให้เทียบกับตัวที่อยู่ใกล้ๆ  ตัวอื่นๆในวงจร หรือดูจากวงจรอื่นๆเครื่องอื่นๆเพื่อเป็นแนวทางว่า R มาตรฐานแถบสีมันอย่างไร    อีกหนึ่งกรณีคือให้สังเกตแถบสีที่ 1  ตัวอย่างเช่นในรูป สีเหลืองแถบสีแรก ไม่รู้ว่ามันอ่านค่าได้กีโอห์ม  กี่ K  Ohm  แต่เรารู้ว่าเหลืองคือ 4  เมื่อใช้มัลติมิเตอร์วัดมันต้องขึ้นเลข 4  หรือใกล้เคียง 4 มากมาก  ส่วนหน่วยจะเป็น  โอห์ม   , K  โอห์ม หรือ M   โอห์ม    ช่วยให้เราประเมินเบื้องต้นได้ว่า R ไม่เสียเพราะค่าของมันมีแนวโน้มตามค่าของแถบสีที่ 1 

    

อ่านค่าสีตัวต้านทาน  ອຸປະກອນອີເລັກໂທນິກ

   แถบสีมาตรฐานของ R    ใช้เทียบเมื่ออ่านค่า R 

   


เลือก หัวข้อ  / เรื่อง  อ่านต่อ

เลือกเบอร์แทน วาริสเตอร์ กันฟ้าผ่า ( Varistor ) ตารางวาริสเตอร์

หาเบอร์แทน  วาริสเตอร์กันฟ้าผ่า และ ตารางวาริสเตอร์ 


วาริสเตอร์ กันฟ้าผ่า  Varistor   ตารางวาริสเตอร์


บทความนี้มีตารางวาริสเตอร์  เพื่อใช้ค้นหาเบอร์และเทียบเบอร์  เช่น  ต้องการค้นว่าวาริสเตอร์  250V  จะเป็นเบอร์อะไร  คำตอบคือเบอร์  14D391K  โดยดูจากตารางที่ 2    หรือต้องการค้นว่าวาริสเตอร์เบอร์  14D471K  มีสเปคไฟกี่โวลต์ ?   จากตารางที่ 2  จะได้ว่า     CNR14D471K  =  300V      วาริสเตอร์กันฟ้าผ่าอยู่ในวงจรภาคจ่ายไฟ  ถ้าใช้กับไฟ  220Vac มักเป็นเบอร์   14D431K  = 275V    เป็นเบอร์ที่ทนแรงดันได้ถึง  275V แรงดันที่สูงจากนั้นมันจึงจะทำงานโซนป้องกัน  โดยจะเลือกให้สูงกว่าไฟปกติของวงจรหรือระบบ   10-20%    ถ้าเลือกบวก % ต่ำไปมันจะทำงานเร็วป้องกันเร็วใช้กับวงจรที่เน้นการป้องกันเร็ว  แต่บางวงจรเราไม่ต้องการให้มันทำงานป้องกันเร็วเกินไป    ต้องบวกเผื่อในระดับ 20%     ต้องเลือกบวก % ให้พอดีเพื่อให้มันทำหน้าที่ป้องกันได้ทันและไม่ทำงานไวเกินไป    เช่น   ไฟปกติของวงจรหรือระบบ  220Vac  จะได้ว่า    220V + 20%  = 264V   นิยมเลือกใช้เบอร์   14D431K ที่ทนแรงดันไฟ   275V   คือถ้าไฟต่ำกว่า 275V  มันจะยังไม่ทำงานป้องกัน  ถ้าไฟเกินประมาณ    275V ขึ้นไปมันจะเริ่มทำงานป้องกันหรือตัดยอดคลื่น   การทำงานของวาริสเตอร์จะ มี % คลาดเคลื่อนด้วยจึงใช้คำว่าแรงดันประมาณ       เบอร์    14D431K   เป็นเบอร์ที่นิยมใช้ในปลั๊กพ่วงไฟ 220Vac   ด้วย    วาริสเตอร์มีความโต   Dia  หลายขนาด  เช่น  10D  คือ 10mm    14D คือ  14mm    20D คือ 20mm   





ตารางวาริสเตอร์  เบอร์แทนวาริสเตอร์  กันฟ้าผ่า



วาริสเตอร์    14D471K      วาริสเตอร์  250V



ตารางวาริสเตอร์    ອຸປະກອນອີເລັກໂທນິກ



















4  อาการ  เพาเวอร์ซัพพลาย เสีย    Power supply  เสียอาการต่างๆ  อ่านที่นี้




วิธีการใช้มัลติมิเตอร์     วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 มี   15  บท  การใช้งานมัลติมิเตอร์   เพื่อวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

-    เช็ค ดี / เสีย  เป็น    
-    วัดอุปกรณ์เป็น   ครบอุปกรณ์ที่สำคัญ 
-     เตรียมตัวไปทำงาน หรือ สมัครงาน  มีพื้นฐานดี  สามารถต่อยอดไปได้ไกล  
       บริษัทหรือหน่วยงานต่างๆต้องการคนที่มีพื้นฐานดีและเตรียมพร้อมจะทำงาน  
       เมื่อเข้าไปทำงานแล้วใช้เวลาเรียนรู้งานไม่มาก
-    ลดต้นทุน    ใช้ของให้คุ้มค่า    อุปกรณ์หายากแล้วจำเป็นต้องซ่อมเพื่อใช้งานต่อ  
     ทำงานเกี่ยวกับการซ่อมบำรุง







อ่านได้ที่    Google  play   books    กดที่รูปปกหนังสือ   จะไปยังหน้าเพจหนังสือให้


หนังสือ   ebook  Google play books

             ปก   หนังสือ  E- book  " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม " 
อ่านได้ที่   Google play books     มี  15  บท ในเล่ม
มีรูปประกอบเยอะ          เข้าใจง่าย



อ่านที่   Mebmarket   ได้ทั้ง   Android   และ  IOS
Mebmarket ร้าน  E book ชั้นนำของไทย
ใช้ชื่อหนังสือค้นใน   google ก็เจอ  เช่นกัน 
ชื่อ :   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม






สาธิตวิธีวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มีรูปประกอบเยอะและมีตัวอย่างชัดๆ  

>   เข้าใจง่ายเพราะมีรูปประกอบจำนวนมาก
>   สะดวกสำหรับยุคนี้  คือ   อ่านผ่าน App " Google Play Books "   ในมือถือ


สำหรับมือใหม่และคนที่สนใจการวัดอุปกรณ์ดีเสียเพื่อซ่อมวงจรและทำงานเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า      หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "  นี้
มีเนื้อหาถึง 15 บท โดยครอบคลุมการวัดอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ   อ่านได้ที่
Google  Play  Books   โดยทำตาม   2   ขั้นตอน   ต่อไปนี้

1)   ลง App  ก่อน  ชื่อแอป  Google Play Books    (อยู่ที่   Play Store  ในมือถือ )
2)  ค้นหาชื่อหนังสือ  ...... ค้นหาผ่าน google  ........ โดยใช้ชื่อหนังสือค้น หรือ ใช้คำค้นว่า  
"  15 Lesson Test Electronic Components (Thai ) การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
หรือ  คลิกตามด้านล่างนี้   จะพาไปยังหน้าหนังสือนี้เลย    ที่  Google Play Books 




ตัวอย่าง หัวข้อในหนังสือ
ครบ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ  หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
มี 15 บท มีให้อ่านที่ร้านอีบุ๊คชั้นนำ    Google Play Books  
และ   MEBMARKET 
หนังสือสำหรับ ช่างซ่อม นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิค อาชีวะ สายอาชีพ และผู้ทีสนใจหนังสือช่าง   
สารบัญมี    15 บท  ดังนี้
1)   วิธีวัดไอจีบีที       2)  วิธีวัดมอสเฟต     3) วิธีวัดไตรแอค     4)  วิธีวัดเอสซีอาร์    
5)   วิธีวัดทรานซิสเตอร์   6)   วิธีวัดไอซี  DIP   8   ขา  16 ขา   20  ขา      7)  วิธีวัดไอซี  OPTO     
8)   วิธีวัดไอซีเร็กกูเลเตอร์ตระกูล  78XX   79XX
9)   วิธีวัดไดโอด     10)  วิธีวัดซีเนอร์ไดโอด     11)   วิธีวัดไดโอดบริดจ์  ขั้นเทพ   
12)    วิธีวัด LED    13)  วิธีวัดตัวต้านทาน     14)  วิธีวัดตัวต้านทานปรับค่าได้  วัด VR     
15)    วิธีวัดคาปาซิเตอร์