วิธีอ่านค่ามอสเฟต จากดาต้าชีทมอสเฟต และ ตัวอย่างเบอร์มอสเฟต MOSFET

ค่ามอสเฟตจากดาต้าชีทมอสเฟตที่ควรรู้จักและตัวอย่างจริงในตาราง  เริ่มจากกระแส   แรงดัน  วัตต์  ความต้านทานและค่าอื่นๆ  อีกหลายอย่าง  เริ่มจากการดูตัวถังก่อน  เช่น เป็นตัวถังแบบ  TO-220AB   จากนั้นดูโครงสร้างว่าเป็นชนิด N แชนแนล หรือ  P แชนแนล   ถ้าเป็นมอสเฟตที่ใช้ขับโหลดพวกมอเตอร์หรือโหลดแบบอินดักทิฟจะมีไดโอดอยู่ระหว่างขา  D และ S ใช้ป้องการขา D และ S เสียหายจากแรงดัน


มอสเฟต  วิธีอ่านค่ามอสเฟต จากดาต้าชีทมอสเฟต
                                 รูปแรกตัวเล็กตัวถัง  TO-220    รูปที่ 2  ตัวถัง  TO-247



เบอร์มอสเฟต  MOSFET
                                             
          ตัวอย่างเบอร์มอสเฟต และ  ค่าสเปคทางไฟฟ้า


1)   ค่ากระแส   I (D)  คือ  กระแสเดรนค่าต่อเนื่อง    (  Contineous  Drain  Current )  ใช้ค่าเท่ากันหรือสูงกว่าได้

2)   แรงดัน   V  BR(DSS) คือแรงดันเบรคดาวน์ระหว่างขา D และ S  ใช้ค่าเท่ากันหรือสูงกว่าได้

3)  แรงดัน V GS ( th )  เป็นแรงดันขาเกตขั้นต่ำที่ทำให้มอสเฟต ON หรือเริ่มนำกระแส   ( Gate to Source  threshold Voltage )   ให้ใช้ค่าเท่ากันหรือหรือต่ำกว่าก็ได้   ห้ามใช้ค่าสูงกว่าเนื่องจากต้องใช้แรงดันมากกว่าเพื่อสั่งให้มอสเฟตทำงาน ON

4)  PD  Max  กำลังไฟฟ้าของมอสเฟตมีหน่วยเป็นวัตต์  เบอร์แทนค่าวัตต์ต้องเท่ากันหรือสูงกว่าได้  

5)  ค่าความต้านทานขณะนำกระแส    หรือ  r DS ( ON )  ยิ่งต่ำยิ่งดี ทำให้ร้อนน้อยและการสูญเสียขณะนำกระแสน้อย

6)  อินพุตคาปาซิแตนซ์ หรือ  Ciss ( input capacitance )  ตรงขาเกตของมอสเฟตมีลักษณะเหมือนคาปาซิเตอร์ค่านี้มีความคำคัญสำหรับงานสวิตชิ่ง มีผลเรื่องความถี่ในการสวิตชิ่ง    ต้องนำไปคำนวณวงจรขับขาเกต  ( Gate Charge Driver )   ให้ใช้ค่าเท่าเดิมหรือใกล้เคียงค่าเดิมให้มากที่สุด ใช้ค่าน้อยกว่าได้แต่ห้ามใช้ค่ามากกว่าของเดิม

7)  ค่าที่เกี่ยวกับระยะเวลาการสวิตชิ่ง  มีผลต่อการทำงานที่ความถี่สูง  ให้ใช้ค่าเท่าเดิม หรือต่ำกว่าเดิม ถ้าใช้ค่าเวลาที่สูงกว่า   มันจะทำงานสวิตชิ่งไม่ทันผลคือวงจรอาจไม่ทำงานหรือเกิดการสูญเสียจากการสวิตชิ่งสูง

td (ON)       =    Turn - On  delay time   

tr                 =    Rise  time  

td (OFF)      =   Turn - Off   delay time



เบอร์มอสเฟต
            มอสเฟต  รุ่นมีไดโอดอยู่ระหว่างขา D และ S ใช้ป้องการขา D และ S เสียหายจากแรงดัน


















4  อาการ  เพาเวอร์ซัพพลาย เสีย    Power supply  เสียอาการต่างๆ  อ่านที่นี้



วิธีการใช้มัลติมิเตอร์     วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

มี    15  บท    การใช้งานมัลติมิเตอร์    เพื่อวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

-    เช็ค ดี / เสีย  เป็น    
-    วัดอุปกรณ์เป็น  ครบอุปกรณ์ที่สำคัญ
-      เตรียมตัวไปทำงาน หรือ สมัครงาน  มีพื้นฐานดี  สามารถต่อยอดไปได้ไกล  
    บริษัทหรือหน่วยงานต่างๆต้องการคนที่มีพื้นฐานดีและเตรียมพร้อมจะทำงาน  
    เมื่อเข้าไปทำงานแล้วใช้เวลาเรียนรู้งานไม่มาก
-   ลดต้นทุน    ใช้ของให้คุ้มค่า    อุปกรณ์หายากแล้วจำเป็นต้องซ่อมเพื่อใช้งานต่อ  
    ทำงานเกี่ยวกับการซ่อมบำรุง







อ่านได้ที่   Google  play   books    กดที่รูปปกหนังสือ  จะไปยังหน้าเพจหนังสือให้



ອຸປະກອນອີເລັກໂທນິກ

                 ปก   หนังสือ  E- book  " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม " 
อ่านได้ที่   Google play books     มี  15 บท  ในเล่ม
มีรูปประกอบเยอะ          เข้าใจง่าย



สาธิตวิธีวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มีรูปประกอบเยอะและมีตัวอย่างชัดๆ  

>   เข้าใจง่ายเพราะมีรูปประกอบจำนวนมาก
>   สะดวกสำหรับยุคนี้  คือ   อ่านผ่าน App " Google Play Books "   ในมือถือ

สำหรับมือใหม่และคนที่สนใจการวัดอุปกรณ์ดีเสียเพื่อซ่อมวงจรและทำงานเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า      หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "  นี้
มีเนื้อหาถึง 15 บท โดยครอบคลุมการวัดอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ   อ่านได้ที่
Google  Play  Books   โดยทำตาม   2   ขั้นตอน   ต่อไปนี้

1)   ลง App  ก่อน  ชื่อแอป  Google Play Books    (อยู่ที่   Play Store  ในมือถือ )
2)  ค้นหาชื่อหนังสือ  ...... ค้นหาผ่าน google  ........ โดยใช้ชื่อหนังสือค้น หรือ ใช้คำค้นว่า  
"  15 Lesson Test Electronic Components (Thai ) การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
หรือ    คลิกตามด้านล่างนี้    จะพาไปยังหน้าหนังสือนี้เลย     ที่   Google Play Books 




ตัวอย่าง หัวข้อในหนังสือ
ครบ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ  หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
มี 15 บท มีให้อ่านที่ร้านอีบุ๊คชั้นนำ    Google Play Books  
และ   MEBMARKET 
หนังสือสำหรับ ช่างซ่อม นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิค อาชีวะ สายอาชีพ และผู้ทีสนใจหนังสือช่าง   
สารบัญมี    15 บท  ดังนี้
1)   วิธีวัดไอจีบีที       2)  วิธีวัดมอสเฟต     3) วิธีวัดไตรแอค     4)  วิธีวัดเอสซีอาร์    
5)   วิธีวัดทรานซิสเตอร์   6)   วิธีวัดไอซี  DIP   8   ขา  16 ขา   20  ขา      7)  วิธีวัดไอซี  OPTO     
8)   วิธีวัดไอซีเร็กกูเลเตอร์ตระกูล  78XX   79XX
9)   วิธีวัดไดโอด     10)  วิธีวัดซีเนอร์ไดโอด   11)   วิธีวัดไดโอดบริดจ์  ขั้นเทพ   
12)    วิธีวัด LED    13)  วิธีวัดตัวต้านทาน      14)   วิธีวัดตัวต้านทานปรับค่าได้  วัด VR     
15)    วิธีวัดคาปาซิเตอร์  


อ่านที่   Mebmarket   ได้ทั้ง   Android   และ  IOS
Mebmarket ร้าน  E book ชั้นนำของไทย
ใช้ชื่อหนังสือค้นใน   google ก็เจอ  เช่นกัน 
ชื่อ :   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม





วิธีต่อ พัดลม 3 สาย และ 4 สาย 12V 24V

การต่อพัดลม  12V  24V   4 สาย

การต่อพัดลม 12V   3สาย  ต่อพัดลม  3 สาย

                                              ต่อพัดลม 12V 3 สาย ต่อพัดลม 3 สาย


วิธีต่อ พัดลม 3 สาย  และ  4 สาย  

ก่อนต่อพัดลม 12V 3 สาย  หรือ   24V  3 สาย ต้องรู้ความหมายและหน้าที่ของสายแต่ละเส้น    
ส่วนพัดลม 4  สาย   จะแยกอธิบายอยู่ด้านล่างสุด
พัดลม 3 สายที่นิยมใช้งาน   แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

1)   3  สาย  แบบ    
แดง (+)      ดำ (-)      เหลือง ( เซนเซอร์ สัญญาณเป็นความถี่พัลซ์ )
2)   3  สาย  แบบ    แดง (+)      ดำ (-)      ขาว    ( เซนเซอร์ สัญญาณเป็นแรงดัน VDC  )


เซนเซอร์แบบสัญญาณเป็นความถี่พัลซ์นิยมใช้วัดความเร็วรอบของพัดลม   ส่วนเซนเซอร์แบบสัญญาณเป็นแรงดัน VDC  นิยมใช้บอกสถานะว่าพัดลมทำงานปกติ รวมถึงเครื่องใช้เช็คสถานะได้ว่ามีพัดลมต่ออยู่เพื่อระบายความร้อนให้ระบบ โดยมันจะตรวจจับสัญญาณแรงดัน VDC เพื่อเช็คสถานะของระบบระบายความร้อนก่อน  ถ้ามีแรงดัน 5V  หมายถึงพัดลมเสีย ถ้ามีแรงดัน 0V หมายถึงพัดลมปกติ  ถ้าไม่มีแรงดัน 0V  หมายถึงไม่มีพัดลมต่ออยู่ในระบบเลย   สัญญาณแรงดัน VDC นี้จะเป็นแรงดันไม่สูง เช่น  3V   5V  เป็นต้น   ถ้าพัดลมเสียหรือไม่มีพัดลมต่ออยู่เครื่องจะร้องเตือนหรือ Alarm  และเครื่องจะไม่ทำงานเพราะระบบระบายความร้อนมีปัญหานั้นเอง



ต่อพัดลม 12V   3สาย  ต่อพัดลม  3 สาย
    ตัวอย่าง  สัญญาณ  ความถี่พัลซ์  จากสายเส้นสีเหลือง  (  สายเซนเซอร์  )



สายสีแดงตามมาตรฐานเป็นไฟ  +     และ   สายสีดำมาตรฐานกำหนดเป็นไฟ  -  
ส่วนสายสีเหลืองหรือสีขาวเป็นสายเซนเซอร์     ปกติแล้วพัดลม 3 สาย  2 ชนิดนี้ไม่สามารถใช้แทนกันได้เนื่องจากเป็นเซนเซอร์คนละชนิดหรือมีสัญญาณเอาต์พุตที่แตกต่างกัน   ปกติแล้วสายสีเหลืองจะเป็นสัญญาณพัลซ์ เพื่อใช้วัดรอบหมุนของพัดลมหรือเช็คสถานะของพัดลมจากสัญญานพัลซ์ที่ออกมานั้น     ส่วนสายสีขาวจะเป็นสัญญาณแรงดันไฟ DC เพื่อแจ้ง (Alarm)ให้ระบบทราบสถานะของพัดลมว่ามีพัดลมระบายความร้อนต่ออยู่หรือไม่ต่ออยู่กับวงจร   และใช้เช็คสถานะว่าพัดลมหมุนหรือไม่หมุน       อย่างไรก็ตามชนิดของเซนเซอร์ไม่สามารถดูจากสีของสายไฟได้เสมอไป   จึงใช้สีของสายไฟอ้างอิงเป็นชนิดของเซนเซอร์ไม่ได้เสมอไป   เพราะบางยี่ห้อใช้สายเซนเซอร์สีสายไฟเหมือนกันเลยแต่อาจเป็นเซนเซอร์ชนิดที่แตกต่างกันก็เป็นไปได้    ต้องไปเช็คสเปคกับ Datasheet ของพัดลมรุ่นนั้นๆเอาจึงจะรู้    บางยี่ห้อใช้สีสายสลับกับหลักการข้างต้นก็มี  จากประสบการณ์ตรงที่เคยเจอ   เช่น   พัดลมสายสีเหลืองมันควรจะเป็นเซนเซอร์แบบพัลซ์แต่ไม่ใช่เลย เมื่อวัดด้วยสโคปแล้วเซนเซอร์เอาต์พุตกลับเป็นแบบแรงดันไฟ  DC  ( Alarm Signal  )
พัดลมไฟ DC 3  สายจึงไม่สามารถบอกได้ 100% ถึงชนิดของสัญญาณเซนเซอร์โดยดูจากสีของสายไฟเสมอไป   มันไม่ได้กำหนดเป็นมาตรฐานที่แน่นอน 100%    แต่พอจะคาดเดาได้บ้างโดยดูจากยี่ห้อ โดยปกติยี่ห้อเดียวกันจะใช้รูปแบบรหัสสีของสายไฟที่เหมือนกัน   และดูลักษณะงานที่ใช้ด้วย   เช่น   ใช้กับ CPU คอม  สายสีเหลือง เป็นเซนเซอร์แบบความถี่พัลซ์   เพื่อใช้วัดรอบหมุนของพัดลม   เป็นต้น



วิธีต่อ พัดลม 3 สาย

                               
วิธีต่อ พัดลม 3 สาย



พัดลมระบายความร้อน 4 สาย  4 PIN   12V  24V  (  พัดลม DC 4 สาย )
พัดลม 4 สาย  เป็นพัดลมแบบที่ควบคุมความเร็วรอบได้  ก่อนต่อหรือหาพัดลมมาแทนตัวเก่าต้องรู้ความหมายของสายไฟแต่ละสีก่อน    ดังต่อไปนี้

1)   สีแดง เป็นไฟ  +   
2)   สีดำ   เป็นไฟ   -     
3)   สีเหลือง  เป็นสายเซนเซอร์ ปกติแล้วจะเป็น Tachometer sensor คือเป็นสัญญาณความถี่พัลซ์ สายสีเหลืองอาจจะเรียกว่าเป็นสาย Output Sensor  ( สาย Sensor  )  เป็นสัญญาณเพื่อส่งออกไปบอกบอร์ดควบคุม
4)   สีน้ำเงิน  เป็นสาย  Speed  Control  มีชื่อเต็มๆว่า  PWM speed control  เป็นสายที่สั่งให้พัดลมหมุนเร็วหรือหมุนช้า (เพื่อปรับรอบหมุน)  สายสีน้ำเงินนี้อาจเรียกว่าเป็นสาย Input  สัญญาณมาจากบอร์ดควบคุมเข้ามาที่พัดลมเพื่อสั่งงานพัดลมนั้นเอง



วิธีต่อ พัดลม 3 สาย และ 4 สาย

















4  อาการ  เพาเวอร์ซัพพลาย เสีย    Power supply  เสียอาการต่างๆ  อ่านที่นี้

วิธีการใช้มัลติมิเตอร์      วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 มี    15   ตอน   การใช้งานมัลติมิเตอร์     เพื่อวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 -    เช็ค ดี / เสีย  เป็น    
 -    วัดอุปกรณ์เป็น   ครบอุปกรณ์ที่สำคัญ
 -      เตรียมตัวไปทำงาน หรือ สมัครงาน  มีพื้นฐานดี  สามารถต่อยอดไปได้ไกล  
        บริษัทหรือหน่วยงานต่างๆต้องการคนที่มีพื้นฐานดีและเตรียมพร้อมจะทำงาน  
        เมื่อเข้าไปทำงานแล้วใช้เวลาเรียนรู้งานไม่มาก
-       ลดต้นทุน    ใช้ของให้คุ้มค่า    อุปกรณ์หายากแล้วจำเป็นต้องซ่อมเพื่อใช้งานต่อ  
        ทำงานเกี่ยวกับการซ่อมบำรุง








อ่านได้ที่     Google  play   books    
กดที่รูปปกหนังสือ (รูปที่  1)    จะไปยังหน้าเพจหนังสือให้


หนังสือ   ebook  Google play books

            ปก   หนังสือ  E- book  " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม " 
อ่านได้ที่   Google play books   มี   15  เรื่องในเล่ม   
มีรูปประกอบเยอะ          เข้าใจง่าย



อ่านที่   Mebmarket   ได้ทั้ง   Android   และ  IOS
Mebmarket ร้าน  E book ชั้นนำของไทย
ใช้ชื่อหนังสือค้นใน   google ก็เจอ  เช่นกัน 
ชื่อ :   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม







ข้อมูลเกี่ยวกับพัดลมระบายความร้อน   เพิ่มเติม


                     พัดลมระบายความร้อน 12V  24V   ตอนที่ 1

                             

                     
พัดลมระบายความร้อน 12V 24V ตอนที่ 2

                             

                     
พัดลมระบายความร้อน  วิธีระบุขนาด

                   
             พัดลมหมุนได้อย่างไร  พัดลม DC Brushless



เลือก   หัวข้อ / เรื่อง   อ่านเพิ่ม 



สอบถาม เทียบเบอร์ IGBT

 เทียบเบอร์   IGBT 

ก่อนอื่นให้สังเกตสัญลักษณ์ของ   IGBT  จะพบว่ามีขา G เหมือนกับมอสเฟต   และ มีขา C  E  เหมือนกับ Transistor  เพราะว่า IGBT นั้นเป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาต่อยอดมาจากทรานซิสเตอร์ BJT และมอสเฟต นั่นเอง       IGBT ย่อมากจาก  Insulated    Gate   Bipolar  Transistor   มันเป็นทรานซิสเตอร์อีกชนิดหนึ่ง ดังนั้นเวลาอ่านสเปคหรือเทียบเบอร์มันจึงคุ้นๆและคล้ายๆกับสเปคของมอสเฟตและทรานซิสเตอร์ BJT ที่เรารู้จักกันในนาม   NPN   PNP

สัญลักษณ์    IGBT

                                                        สัญลักษณ์     IGBT


การเทียบเบอร์เทียบสเปคจะทำเมื่อจำเป็น ถ้าหาเบอร์เดิมได้อยู่ให้ใช้เบอร์เดิมจะดีที่สุดเพราะว่าอุปกรณ์พวก IGBT  SCR  รวมถึงมอสเฟตมันทีค่าทางไฟฟ้าหลายอย่างที่ต้องทดลองผลที่เกิดกับวงจร  กรณีเป็นเบอร์หายากมีความจำเป็นต้องเทียบเบอร์ IGBT  ให้เช็คค่าทางไฟฟ้าต่อไป

1.  ตัวถังและตำเหน่งขาต้องเหมือนเดิม  

2.  โครงสร้างข้างในเหมือนเดิม แต่ละผู้ผลิตจะมีเทคนิคโครงสร้างไม่เหมือนกัน  เช่น   TrenchStop  ,   BIMOSFETT  ,  NPT  ,  XPT    เป็นต้น  

3.  มีไดโอดที่ขา C กับ E หรือ ไม่มีไดโอด    ไดโอดนี้ใช้ป้องกันขา C และ E จากแรงดันเกิน

4.  กำลังไฟฟ้า  Pc  มีหน่วยเป็นวัตต์  ใช้ค่าเท่าเดิมหรือมากกว่าได้

5.  แรงดัน Vce  แรงดันทีทนได้ระหว่างขา C และ  E ใช้ค่าเท่าเดิมหรือมากกว่าได้

6.   กระแส IC    ใช้ค่าเท่าเดิมหรือมากกว่าได้

7)  แรงดัน V GE ( th )  เป็นแรงดันขาเกตขั้นต่ำที่ทำให้  IGBT  ON หรือเริ่มนำกระแส   ( Gate to Emitter Cutoff   Voltage )   ให้ใช้ค่าเท่ากันหรือหรือต่ำกว่าก็ได้   ห้ามใช้ค่าสูงกว่าเนื่องจากต้องใช้แรงดันมากกว่าเพื่อสั่งให้ IGBT   ทำงาน ON

8)  อินพุตคาปาซิแตนซ์ หรือ  Cies ( input capacitance ) มีหน่วยเป็น pF   ตรงขาเกตของ IGBT  มีลักษณะเหมือนคาปาซิเตอร์ค่านี้มีความคำคัญสำหรับงานสวิตชิ่ง  มีผลเรื่องความถี่ในการสวิตชิ่ง    ต้องนำไปคำนวณวงจรขับขาเกต  ( Gate Charge Driver )   ให้ใช้ค่าเท่าเดิมหรือใกล้เคียงค่าเดิมให้มากที่สุด ใช้ค่าน้อยกว่าได้แต่ห้ามใช้ค่ามากกว่าของเดิม  นอกจากนี้ยังมีค่าประจุไฟฟ้า Qg  ( Gate Charge )  มีหน่วยเป็น nC   

9)   ค่าที่เกี่ยวกับระยะเวลาการสวิตชิ่ง  มีผลต่อการทำงานที่ความถี่สูง  ให้ใช้ค่าเท่าเดิม หรือต่ำกว่าเดิม ถ้าใช้ค่าเวลาที่สูงกว่า   มันจะทำงานสวิตชิ่งไม่ทันผลคือวงจรอาจไม่ทำงานหรือเกิดการสูญเสียจากการสวิตชิ่งสูง

td (ON)       =     Turn - On    delay  time   

td (OFF)      =    Turn - Off    delay  time


นอกจากนี้ยังมีค่าทางไฟฟ้าอื่นๆ ให้ดูใน Datasheet ของเบอร์นั้นๆ  การเทียบเบอร์ IGBT สามารถทำได้ระดับหนึ่งเนื่องจากมีสเปคค่าทางไฟฟ้าเยอะ     ถ้าค้นในอินเตอร์เน็ตแล้วยังคงมีเบอร์เดิมในตลาดควรใช้เบอร์เดิมกับวงจรเดิม    มีอีกหนึ่งกรณีที่นิยมทำในการเทียบเบอร์คือ  เทียบเพื่อหาเบอร์ใหม่ที่ใช้ทนกว่าเบอร์เก่า


เลือก หัวข้อ / เรื่อง  เพื่ออ่านเพิ่ม 







ที่    Mebmarket   ได้ทั้ง   Android    และ   IOS
Mebmarket ร้าน  E book ชั้นนำของไทย
ใช้ชื่อหนังสือค้นใน   google ก็เจอ  เช่นกัน 
ชื่อ :   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม





สอบถาม การเทียบเบอร์ SCR หาเบอร์แทน

เทียบเบอร์   SCR  หาเบอร์แทน

การเทียบเบอร์  SCR เพื่อหาเบอร์แทน  ก่อนทำข้ออื่นๆให้เช็คเรื่องพื้นฐานที่สุดก่อนคือให้เช็คตัวถังและตำเหน่งขาของ SCR    ต้องเหมือนกัน  จากนั้นจึงจะเช็คค่าทางไฟฟ้าต่อไป   ดูสัญลักษณ์และตัวอย่างเบอร์ของ SCR  ตามรูปด้านล่าง


เทียบเบอร์  SCR  หาเบอร์แทน
       ตัวอย่างตัวถังของ   SCR   รูปนี้เป็นตัวถังแบบ  TO-220


เทียบเบอร์  SCR    หาเบอร์แทน
                  สัญลักษณ์ของ SCR   มี  3 ขา  คือ   A    K   และ   G



1)  เช็คตัวถังเหมือนกันไหม     ?

2)  ตำเหน่งขาเหมือนกันไหม   ?

3) ประเภทการใช้งานเหมือนกัน เช่น เฟสคอนโทรล  , Switching  เป็นต้น

4)  เช็คค่าทางไฟฟ้าให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้  

4.1   IT (RMS)    กระแส RMS   ใช้ค่าเท่ากันหรือมากกว่าได้

4.2   V (DRM)   =  Repetitive peak off-state voltage  แรงดันที่ทนได้ระหว่างขา A และ K ขณะไม่นำกระแสหรือ OFF   ใช้ค่าเท่ากันหรือมากกว่าได้

4.3   V(GT) และ  I(GT)  แรงดันและกระแสที่ทริกขาเกตเพื่อสั่งให้ SCR ทำงาน ใช้ค่าเท่ากันหรือน้อยกว่าได้

4.4   I(H) = Holding Current  กระแสต่ำสุดที่ SCR สามารถนำกระแสค้างได้เป็นกระแสระหว่างขา A และ K  ใช้ค่าเท่ากันหรือต่ำกว่าได้ อย่าใช้ค่ามากกว่า เพราะ SCR อาจไม่นำกระแสแบบค้างได้เนื่องจากค่ามันสูงไป  

4.5  dV/dt  ค่าอัตราการเปลี่ยนแปลงแรงดันใช้ค่าเท่ากันหรือมากกว่าได้ ถ้าใช้ค่าน้อยกว่า SCR อาจระเบิด

4.6  dI/dt   ค่าอัตราการเปลี่ยนแปลงกระแสใช้ค่าเท่ากันหรือมากกว่าได้ ถ้าใช้ค่าน้อยกว่า SCR อาจระเบิด





หนังสือ   ebook  Google play books

                         หนังสือ  E- book  " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม " 
                             อ่านได้ที่   Google play books     ตามรายละเอียดด้านล่าง



ที่    Mebmarket   ได้ทั้ง   Android    และ   IOS
Mebmarket ร้าน  E book ชั้นนำของไทย
ใช้ชื่อหนังสือค้นใน   google ก็เจอ  เช่นกัน 
ชื่อ :   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม






สาธิตวิธีวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มีรูปประกอบเยอะและมีตัวอย่างชัดๆ  

>   เข้าใจง่ายเพราะมีรูปประกอบจำนวนมาก
>   สะดวกสำหรับยุคนี้  คือ   อ่านผ่าน App " Google Play Books "   ในมือถือ

สำหรับมือใหม่และคนที่สนใจการวัดอุปกรณ์ดีเสียเพื่อซ่อมวงจรและทำงานเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า      หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "  นี้
มีเนื้อหาถึง 15 บท โดยครอบคลุมการวัดอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ   อ่านได้ที่
Google  Play  Books   โดยทำตาม   2   ขั้นตอน   ต่อไปนี้

1)   ลง App  ก่อน  ชื่อแอป  Google Play Books    (อยู่ที่   Play Store  ในมือถือ )
2)  ค้นหาชื่อหนังสือ  ...... ค้นหาผ่าน google  ........ โดยใช้ชื่อหนังสือค้น หรือ ใช้คำค้นว่า  
"  15 Lesson Test Electronic Components (Thai ) การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
หรือ  คลิกตามด้านล่างนี้   จะพาไปยังหน้าหนังสือนี้เลย    ที่  Google Play Books 



ตัวอย่าง หัวข้อในหนังสือ
ครบ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ  หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
มี 15 บท มีให้อ่านที่ร้านอีบุ๊คชั้นนำ    Google Play Books  
และ   MEBMARKET 
หนังสือสำหรับ ช่างซ่อม นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิค อาชีวะ สายอาชีพ และผู้ทีสนใจหนังสือช่าง   
สารบัญมี    15 บท  ดังนี้
1)   วิธีวัดไอจีบีที       2)  วิธีวัดมอสเฟต     3) วิธีวัดไตรแอค     4)  วิธีวัดเอสซีอาร์    
5)   วิธีวัดทรานซิสเตอร์   6)   วิธีวัดไอซี  DIP   8   ขา  16 ขา   20  ขา      7)  วิธีวัดไอซี  OPTO     
8)   วิธีวัดไอซีเร็กกูเลเตอร์ตระกูล  78XX   79XX
9)   วิธีวัดไอโอด     10)  วิธีวัดซีเนอร์ไดโอด     11)   วิธีวัดไดโอดบริดจ์  ขัั้นเทพ   
12)    วิธีวัด LED    13)  วิธีวัดตัวต้านทาน     14)  วิธีวัดตัวต้านทานปรับค่าได้  วัด VR     
15)   วิธีวัดคาปาซิเตอร์  

สอบถาม เทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์

ก่อนทำข้ออื่นๆเกี่ยวกับการเทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์ให้เช็คก่อนว่าทรานซิสเตอร์มีประเภทการใช้งานที่เหมือนกัน เช่น  ใช้งานสวิตชิ่ง  ใช้ขยายสัญสัญญาณเสียง   ใช้เป็นสวิตพื้นฐาน  ใช้งานพาวเวอร์เช่นรักษาระดับแรงดัน  จากนั้นค่อยเช็คตัวถัง   ตำเหน่งขา โครงสร้างและค่าทางไฟฟ้าอื่นๆต่อไป


เทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์  เบอร์แทน
 ตัวอย่างตัวถังของทรานซิสเตอร์  ตามรูปนี้เป็นตัวถังแบบ  TO-247


เทียบเบอร์ทรานซิสเตอร์  เบอร์แทน
     โครงสร้างและสัญลักษณ์ของทรานซิสเตอร์ชนิด NPN และ PNP



1)   เช็คประเภทการใช้งานเหมือนกัน    ?

2)   ตัวถังและตำเหน่งขาเหมือนกัน       ?

3)   ชนิดโครงสร้างเหมือนกันคือ NPN  หรือ PNP    ?  รวมถึงวัสดุว่าเป็นชนิดซิลิกอนหรือเจอรมันเนียม

4)   เช็คค่าทางไฟฟ้าเท่าที่จะทำได้ มีค่าต่อไป  

4.1      P   กำลังไฟฟ้ามีหน่วยเป็นวัตต์ ค่าต้องเท่ากันหรือมากกว่าได้

4.2      Ic ( Collector current ) กระแสขา  C    ค่าต้องเท่ากันหรือมากกว่าได้

4.3     แรงดัน Vceo  แรงดันทนได้สูงสุดระหว่างขา C และ E    ค่าต้องเท่ากันหรือมากกว่าได้

4.4     อัตราขยาย  hFE     เท่ากันหรือใกล้เคียงได้ แต่อย่าใช้ค่าต่ำกว่า

4.5    ค่าความถี่  F(T)   =  Transition frequency  ใช้ค่าเท่ากันหรือใกล้เคียงได้ อย่าใช้ค่าสูงกว่ามากเพราะความถึ่สูงอาจจะเข้าไปในวงจรและรบกวนการทำงาน และอย่าใช้ค่าที่ต่ำกว่าของเดิมมาก





หนังสือ   ebook  Google play books

                         หนังสือ  E- book  " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม " 
                             อ่านได้ที่   Google play books     ตามรายละเอียดด้านล่าง



สาธิตวิธีวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มีรูปประกอบเยอะและมีตัวอย่างชัดๆ  

>   เข้าใจง่ายเพราะมีรูปประกอบจำนวนมาก
>   สะดวกสำหรับยุคนี้  คือ   อ่านผ่าน App " Google Play Books "   ในมือถือ

สำหรับมือใหม่และคนที่สนใจการวัดอุปกรณ์ดีเสียเพื่อซ่อมวงจรและทำงานเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า      หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "  นี้
มีเนื้อหาถึง 15 บท โดยครอบคลุมการวัดอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ   อ่านได้ที่
Google  Play  Books   โดยทำตาม   2   ขั้นตอน   ต่อไปนี้

1)   ลง App  ก่อน  ชื่อแอป  Google Play Books    (อยู่ที่   Play Store  ในมือถือ )
2)  ค้นหาชื่อหนังสือ  ...... ค้นหาผ่าน google  ........ โดยใช้ชื่อหนังสือค้น หรือ ใช้คำค้นว่า  
"  15 Lesson Test Electronic Components (Thai ) การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
หรือ  คลิกตามด้านล่างนี้   จะพาไปยังหน้าหนังสือนี้เลย    ที่  Google Play Books 



ตัวอย่าง หัวข้อในหนังสือ
ครบ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ  หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
มี 15 บท มีให้อ่านที่ร้านอีบุ๊คชั้นนำ    Google Play Books  
และ   MEBMARKET 
หนังสือสำหรับ ช่างซ่อม นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิค อาชีวะ สายอาชีพ และผู้ทีสนใจหนังสือช่าง   
สารบัญมี    15 บท  ดังนี้
1)   วิธีวัดไอจีบีที       2)  วิธีวัดมอสเฟต     3) วิธีวัดไตรแอค     4)  วิธีวัดเอสซีอาร์    
5)   วิธีวัดทรานซิสเตอร์   6)   วิธีวัดไอซี  DIP   8   ขา  16 ขา   20  ขา      7)  วิธีวัดไอซี  OPTO     
8)   วิธีวัดไอซีเร็กกูเลเตอร์ตระกูล  78XX   79XX
9)   วิธีวัดไอโอด     10)  วิธีวัดซีเนอร์ไดโอด     11)   วิธีวัดไดโอดบริดจ์  ขัั้นเทพ   
12)    วิธีวัด LED    13)  วิธีวัดตัวต้านทาน     14)  วิธีวัดตัวต้านทานปรับค่าได้  วัด VR     
15)   วิธีวัดคาปาซิเตอร์