สรุปหน้าที่คาปาซิเตอร์ 6 ข้อ และ การนำตัวเก็บประจุไปใช้งานกับวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ตอนท้ายบทความ

สรุปหน้าที่คาปาซิเตอร์  6  ข้อ   และ  การนำตัวเก็บประจุไปใช้งาน

ตัวเก็บประจุทำหน้าที่เก็บประจุและคายประจุ ซึ่งประจุไฟฟ้านั้นจะเกี่ยวข้องกับกระแสไฟฟ้า แรงดันไฟฟ้าและ พลังงานไฟฟ้า จากสมการที่เราเรียนมาในวิชาฟิสิกส์หรือวิชาไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น  มาทบทวนบางส่วนเพื่อให้เห็นภาพ     เช่น    Q =  CV  ,  Q =  It   และ  พลังงานที่สะสมภายในตัวเก็บประจุ  W = สมการตามในรูป  จะสังเกตเห็นว่าพลังงาน W  ที่สะสมจะขึ้นอยู่กับค่าความจุของ C  และแรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อม   จากรูประหว่างแผ่นเพลตโลหะจะมีสนามไฟฟ้าระหว่างประจุบวกและลบ คาปาซิเตอร์ทำหน้าที่เก็บพลังงานในรูปสนามไฟฟ้า     เหล่านี้เป็นหลักการพื้นฐานของตัวเก็บประจุ  


หน้าที่คาปาซิเตอร์  ตัวเก็บประจุไฟฟ้า

ค่าความจุมาก   เก็บพลังงานไฟฟ้าได้มาก




หน้าที่คาปาซิเตอร์  6  ข้อ
พลังงานที่สะสมในตัวเก็บประจุในรูปสนามไฟฟ้า     





ອຸປະກອນອີເລັກໂທນິກ  คาปาซิเตอร์  ชนิดต่างๆ
                         
     รูปคาปาซิเตอร์ชนิดต่างๆ


สรุปหน้าที่คาปาซิเตอร์  6    ข้อ
เมื่อนำมาใช้งานจริงในวงจรไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์คาปาซิเตอร์จะทำหน้าที่อะไรบ้าง     ? 
จากการศึกษาการทำงานของวงจรต่างๆ  สามารถสรุปหน้าที่ของตัวเก็บประจุได้ดังต่อไปนี้  เรียงจากสิ่งที่เราทราบมาแล้วบ้างไปหาข้อมูลใหม่ๆ

1)   ทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้า    หลักการพื้นฐานของตัวเก็บประจุ  เก็บประจุไฟฟ้าหมายถึงเก็บพลังงานไฟฟ้า (W)  ดูสมการรูปที่ 1 ด้านบนสุด     โดยปริมาณประจุไฟฟ้าจะมีความสัมพันธ์กับกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้าตามสมการ   Q = It  ,  Q = CV   คาปาซิเตอร์ตัวใหญ่ๆสามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้มากและสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มาก    สังเกตได้จากวงจรแหล่งจ่ายไฟวัตต์สูง     UPS    วงจรขับ ( Driver )  แบบต่างๆที่ใช้กระแสสูง  เป็นต้น    จะมีคาปาซิเตอร์ตัวใหญ่
  

หน้าที่คาปาซิเตอร์  ตัวเก็บประจุ   Capacitor
    รูปคาปาซิเตอร์ตัวใหญ่   มีค่าความจุสูงมาก  เช่น   250000 MFD / 50V


คาปาซิเตอร์ทำหน้าที่   ตัวเก็บประจุทำหน้าที่   Capacitor
   รูปคาปาซิเตอร์ตัวใหญ่  มีค่าความจุสูงมาก  เช่น   47000 MFD / 100V



ยกตัวอย่างคาปาซิเตอร์ที่ทำหน้าที่เก็บพลังงานนี้ชื่อ    Back-up Capacitor  ดูตามรูปด้านล่าง ใช้เป็นแบตเตอรี่สำรอง ( Secondary Battery ) ให้ IC ที่เก็บข้อมูลเวลา (Real-time clock (RTC) backup ) และข้อมูลของเครื่อง ( Memory backup )  ระหว่างที่ไม่มีไฟให้วงจร หรือ ปิดเครื่องข้อมูลก็ยังอยู่   Back-up Capacitor    นี้มีพลังงานเพียงพอที่จะจ่ายให้ IC เนื่องจาก IC นี้ใช้กระแสไฟน้อยมากมาก  กรณีวงจรกินกระแสมากจะใช้แบตเตอรี่จริงแทน เช่น ใน PLC จะใช้แบตเตอรี่จริงติดตั้งลงใน PCB  (หรือแบตเตอรี่แบบมีสาย)


คาปาซิเตอร์   Back-up   Capacitor
 คาปาซิเตอร์   Back-up   ค่า 1.0F  5.5V  
ใช้เมื่ออุปกรณ์ต้องการกระแสน้อยๆ เช่น พวก IC  SRAM
 

ข้อดีของคาปาซิเตอร์  Back-up ที่เหนือกว่าแบตเตอรี่คืออายุรอบการใช้งานที่นานกว่าแบตเตอรี่มาก คือจำนวนรอบการเก็บประจุและคายประจุเพื่่อใช้งานมีไซเคิ้ลสูงมาก แต่ก็มีข้อเสียคือจ่ายกระแสไฟได้ระดับที่น้อย  อย่างไรก็ตามกระแสไฟระดับนี้ก็เพียงพอสำหรับ  IC     ขณะที่แบตเตอรี่สามารถจ่ายกระแสได้สูงมากและมีหลายขนาดให้เลือกใช้ด้วย   ข้อเสียของแบตเตอรี่คืออายุใช้งานมีรอบที่ไม่สูงมากนัก


แบตเตอรี่  ER17/50
                               แบตเตอรี่มีขา ต่อลง  PCB  ใช้เมื่อวงจรต้องการกระแสสูง

                                       
                                       แบตเตอรี่มีสายและคอนเนกเตอร์เสียบ 



2)   ทำหน้าที่  DC link  Circuit หรือ  energy buffering  หน้าที่คล้ายๆกับข้อแรกแต่มีรายละเอียดที่แตกต่างออกไปดังนี้
คาปาซิเตอร์ที่ทำหน้าที่ DC  Link  เป็นคาปาซิเตอร์ตัวใหญ่ ๆ  ใน UPS   พาวเวอร์ซัพพลาย    วงจรแปลงไฟคอนเวอเตอร์แบบต่างๆ  และ  วงจรขับมอเตอร์ เป็นต้น คาปาซิเตอร์นี้ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างวงจรส่วนต่างๆหรือตัวกั้นระหว่างอุปกรณ์ เพื่อให้ไฟในวงจรเรียบนิ่งก่อนและมีเพียงพอที่จะนำไปทำงานต่อหรือใช้งานในภาคต่อไป   โดยการเปลี่ยนแปลงของกระแสและแรงดันในวงจรภาคต่างๆจะไม่ส่งผลกระทบต่อกันเนื่องจากมี DC link Capacitor ทำหน้าที่เป็นตัวกั้นอยู่  ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้นอย่างเช่น   ในวงจร DC to DC Converter  แรงดันไฟเข้า input ที่มาจากวงจรภายนอกจะมาเก็บไว้ที่คาปาซิเตอร์ก่อนเพื่อให้ไฟนิ่งและมีเพียงพอ จากนั้นจึงจะนำไฟที่เก็บเตรียมไว้นี้ไปแปลงระดับแรงดันโดยอุปกรณ์อื่นๆข้างในวงจร   เมื่อทำการแปลงไฟแล้วก็ต้องเก็บไฟที่แปลงได้นี้ในคาปาซิเตอร์โดยตรงใกล้ๆบริเวณ Output หรือจุดต่อใช้งานจะมีคาปาซิเตอร์ค่าความจุสูง     โดยการดึงไฟของโหลดจะไม่ส่งผลกระทบมากต่อวงจรภายในเนื่องจากมี DC link คาปาซิเตอร์  เป็นตัวกั้นอยู่


คาปาซิเตอร์  หน้าที่

                            วงจร DC to DC Converter แบบปรับค่าได้


คาปาซิเตอร์ และหน้าที่

                           สังเกตใกล้ๆจุดต่อ Input และ Output จะมี C ตัวใหญ่



3) ทำหน้าที่กรองไฟให้เรียบ  ในวงจรเรียงกระแสไฟเอซีเป็นดีซี  ( AC to DC )  ไฟที่ผ่านไดโอดแล้วยังมีการกระเพื่อมมาก ต้องใช้ C ฟิลเตอร์ทำหน้าทีกรองไฟให้เรียบ หลังจากผ่าน  C ฟิลเตอร์นี้แล้วไฟจะเรียบมากขึ้นแต่ก็จะก็ยังมีการกระเพื่อมอยู่เล็กน้อยซึ่งยังไม่เหมาะนำไปใช้งาน  ต้องใช้วงจรรักษาระดับแรงดันไฟ  ( Voltage Regulator ) เพื่อทำไฟให้เรียบนิ่งที่สุดก่อนจึงจะเหมาะกับการใช้งาน


คาปาซิเตอร์  ทำหน้าที่กรองไฟให้เรียบ
                  C   ฟิลเตอร์ทำหน้าที่กรองไฟให้เรียบ  สังเกตจุดที่ 3 ไฟจะเรียบ



คาปาซิเตอร์  ทำหน้าที่กรองไฟให้เรียบ
                     C  ตัวใหญ่ ค่าความจุสูง   ใกล้ๆไดโอดบริดจ์ ทำหน้าที่กรองไฟให้เรียบ




หน้าที่และการนำคาปาซิเตอร์ตัวใหญ่ๆไปใช้งาน   ระบุไว้ใน Datasheet  ตรงการนำไปใช้งาน ( Application )    ยกตัวอย่าง ตรงที่วงสีแดงไว้   Datasheet  ของ   Vishay BCcomponents  Screw Terminals  Aluminum Electrolytic Capacitors  จะสังเกตว่าสามารถนำไปใช้ได้หลายวงจรที่เน้นกระแสสูง    ตัวอย่างที่ 2 เป็น Datasheet  ของ  Cornell Dubilier Electronics (CDE)    Type  CGS   Screw Terminal Capacitors  ตรงที่ขีดสีเหลืองไว้คือ  กรองไฟให้เรียบ ( Filtering )  และ เก็บพลังงานไฟฟ้า ( Energy  Storage )




From   Datasheet    Vishay BC components  Screw Terminals  Aluminum Electrolytic Capacitors  model :  101/102 PHR-ST    ใช้เป็นตัวอย่างการนำ C ตัวใหญ่ไปใช้งาน




From   Datasheet   Cornell Dubilier Electronics (CDE)   Type  CGS   Screw Terminal Capacitors
ใช้เป็นตัวอย่างการนำ C  ตัวใหญ่ไปใช้งาน




4)  เชื่อมโยงสัญญาณหรือคัปปลิ้ง ( Coupling )  คุณสมบัติของคาปาซิเตอร์จะกั้นไฟ DC  และยอมให้สัญญาน AC  ผ่านไปได้    ไฟ DC ที่ใช้เลี้ยงหรือไบอัสวงจรขยายภาคต่างๆจะแยกกันโดยใช้คาปาซิเตอร์เป็นตัวกั้นและเชื่อมโยงเฉพาะสัญญาณระหว่างภาคขยายโดยใช้คาปาซิเตอร์คัปปลิ้ง

คาปาซิเตอร์  ทำหน้าที่คัปปลิ้ง
                              C  เชื่อมโยงสัญญาณ หรือ C  คัปปลิ้ง ( Coupling )


5)  กรองความถี่แบบต่างๆ   วงจรกรองความถี่นั้นมีหลายแบบ  โดยจะใช้ C เป็นอุปกรณ์หลักในวงจร  เช่น  กรองความถี่ต่ำผ่าน  กรองความถี่สูงผ่าน   กรองสัญญาณรบกวนหรือกรองความถี่ที่ไม่ต้องการทิ้ง   จะอธิบายเพิ่มเพื่อให้เห็นภาพ  จากคุณสมบัติของคาปาซิเตอร์จะเก็บประจุและคายประจุเมื่อเราต่อตัวต้านทานเข้าไปขัดขวางมันจะใช้เวลานานมากขึ้นในการเก็บประจุและคายประจุ อย่างเช่นในวงจรไฟกระพริบแค่เปลี่ยนค่า C หรือค่า R  จะทำให้ระยะเวลาการกระพริบเปลี่่ยนไปคือเร็วขึ้นหรือช้ามากขึ้น  ดังนั้นคาปาซิเตอร์จึงเกี่ยวข้องกับความถี่และคาบเวลา (  Frequency and Timing ) ชื่อหน้าที่คาปาซิเตอร์ที่ทำหน้าที่กรองสัญญาณรบกวน    เช่น   Bypass คาปาซิเตอร์  ,  Decoupling Capacitor   ดูรูปประกอบ


หน้าที่คาปาซิเตอร์


ตัวเก็บประจุ  ทำหน้าที่กรองสัญญาณรบกวนความถี่สูง
          คาปาซิเตอร์ชนิด X  มี 1 ตัว  0.1uF  และ  คาปาซิเตอร์ชนิด   Y  มี   2  ตัว  2200pF

คาปาซิเตอร์ชนิด  X  Class X2   และ  คาปาซิเตอร์ชนิด Y   ทำหน้าที่กรองสัญญาณรบกวน ( RFI : Radio Frequency Interference ) ทิ้ง  คาปาซิเตอร์ชนิด X และ Y  นี้อยู่ใน EMI  Line  Filter  และภาคจ่ายไฟ   โดยความถี่สูงจะผ่านไปไม่ได้ ส่วนความถี่ต่ำคือไฟ  220Vac  50Hz จะผ่านไปได้ เป็นวงจรกรองความถี่ต่ำผ่าน


คาปาซิเตอร์  ทำหน้าที่ดีคัปปลิ้ง สำรองไฟ ทำไฟให้เรียบ
C   ดีคัปปลิ้ง  มีค่าความจุน้อย นิยมใช้  C ชนิด เซรามิค

C  ดีคัปปลิ้ง  ( Decoupling )  ช่วยให้ไฟเลี้ยง IC นิ่งที่สุด   IC ต้องการไฟเลี้ยงที่นิ่งมากโดยเฉพาะ IC พวกดิจิตอล  ไฟที่เข้ามาอาจกระเพื่อมเนื่องจากสาเหตุต่างๆจากอุปกรณ์ตัวอื่นๆ เช่น   มีการสวิตชิ่งเพื่อตัดต่อ อุปกรณ์ตัวอื่นมีการดึงกระแส    เป็นต้น  ไฟกระเพื่อมนี้จะส่งผลกระทบไปทั่ววงจร    โชคดีคาปาซิเตอร์ดีคัปปลิ้งช่วยกั้นการกระเพื่อมนี้ไว้  และคาปาซิเตอร์ดีคัปปลิ้งยังช่วยบายพาสความถี่สูงลงกราวน์ไม่ให้เข้าไปรบกวนการทำงานของ  IC   ด้วย



6)  ทำหน้าที่ป้องกันวงจรและทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตัวอื่นๆทำงานเสถียรมากขึ้น
ทำหน้าที่ป้องกันวงจรโดยใช้เป็นสนับเบอร์ ( Snubbering )  จากคุณสมบัติพื้นฐานของตัวเก็บประจุคือแรงดันไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงแบบทันทีทันใดไม่ได้    มันต้องใช้เวลาในการเก็บประจุและคายประจุ มีการนำคาปาซิเตอร์ไปใช้ในวงจรสนับเบอร์เพื่อลดและควบคุมอัตราการเปลี่ยนแปลงแรงดันให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยให้ไตรแอคและเอสซีอาร์ ดังนั้นแรงดันไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงแบบเร็วเกินไปจะไม่ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียเนื่องจากมีวงจรสนับเบอร์ช่วยไว้ และทำให้เราประหยัดต้นทุนด้วยคือไม่ต้องใช้อุปกรณ์ที่สเปคแรงดันสูงเกินไปที่มีราคาแพง โดยใช้วงจรสนับเบอร์ลดอัตราการเปลี่ยนแปลงแรงดันให้ต่ำลงมา   ผลคืออุปกรณ์ตัวอื่นๆในวงจรก็สามารถใช้สเปคแรงดันที่ต่ำลงมาและมีราคาถูกลงทั้งวงจร

คาปาซิเตอร์   หน้าที่สำรองไฟ
             จาก Datasheet  IC  78XX  C1 และ C2 จะมีค่าความจุน้อย  เช่น C1 = 0.22uf 
             C1 ทำหน้าที่ช่วยให้ไฟเข้า IC นิ่ง จำเป็นต้องต่อเมื่อ IC อยู่ห่างมากจาก C ฟิลเตอร์
             C2  ทำหน้าที่ช่วยเรื่อง   Transient   response

IC หลายเบอร์ต้องมีการต่อ R ต่อ C ภายนอกให้มัน    บางเบอร์ Datasheet ของ IC  ระบุเป็นค่ามาให้เลย และ บางครั้งต้องคำนวณหาค่า   R  ค่า  C   ตามสูตรเอง






การนำตัวเก็บประจุไปใช้งานในวงจรไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์
คาปาซิเตอร์นั้นมีหลายชนิด คาปาซิเตอร์ 1 ชนิดสามารถนำไปใช้งานได้หลายวงจรแต่ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ทุกวงจร  อย่างเช่น C ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงสัญญาณหรือคับปลิ้ง  ถ้าเป็นความถี่ต่ำสามารถใช้คาปาซิเตอร์ชนิดอิเล็กทรอไลต์เกรดดีๆมีกระแสรั่วไหลต่ำๆได้  ถ้าเป็นความถี่สูงต้องใช้ C ชนิดฟิล์มโพลีโพไพลีน   อีกหนึ่งตัวอย่างคือการกรองสัญญาณรบกวนความถึ่สูงออกจากไฟ AC มาตรฐานกำหนดต้องเป็นคาปาซิเตอร์ชนิดฟิล์ม Class  X  และ   Y




                      Source :  Credit   Wikipedia
                      รูปสรุป ชนิด C  และการนำคาปาซิเตอร์ไปใช้งานกับวงจรต่างๆ 


ขอบคุณรูปจาก Wikipedia   อธิบายให้เห็นภาพรวมการนำ C ชนิดต่างๆไปใช้งานว่ามันจะมีบางวงจรที่สามารถใช้ C ได้หลายชนิด แต่ก็จะมีบางวงวรที่เจาะจงและนิยมใช้ C ชนิดๆนั้นอาจมีเหตุผล 1-2-3 เช่น  เรื่องสเปคทางไฟฟ้า  ต้นทุนหรือราคา  การหาง่าย  ขนาดความโต  และมาตรฐานกำหนด เป็นต้น



สรุปชนิดคาปาซิเตอร์และการไปใช้งานกับวงจรต่างๆ  

1)   วงจรที่เกี่ยวกับคาบเวลาหรือ Timing ต้องการ C ที่ไม่มีกระแสรั่วไหลเลยและมีการสูญเสียต่ำมากๆจึงใช้ C ชนิดฟิล์ม    
2)   C ทำหน้าที่คัปปลิ้ง ต้องการ C มีคุณสมบัติการสูญเสียน้อยมากๆและไม่มีกระแสรั่วไหลหรือน้อยมากๆ ตอบสนองความถี่ย่านนั้นๆได้ดีมาก นิยมใช้ C ชนิดฟิล์มไมล่า หรือ โพลีโพไพลีน(ซึ่งดีกว่าไมล่า)
3)   งานกรองสัญญาณรบกวน ( EMI  RFI Suppression ) มีใช้ทั้ง C ชนิดฟิล์มและ C ชนิดเซรามิค ขึ้นอยู่กับความถี่ที่ต้องการกำจัดและค่าความจุที่ได้จากการคำนวณด้วย   
4)   งาน  DC Link  /  DC Buffering ใช้  C  ชนิดอิเล็กทรอไลต์ สังเกตจะเป็น  C ค่าสูงๆ ในวงจรแปลงไฟคอนเวอเตอร์แบบต่างๆ
5)  งานควบคุมมอเตอร์ คือ Capacitor  Start  และ Capacitor RUN  ใช้ C ชนิดฟิล์มเนื่องจากมันไม่มีขั้วและทนไฟ AC ได้ดีมาก  อีกทั้งเป็นแบบที่นิยมผลิตมาใช้งานจนเป็นมาตรฐานไปแล้ว  เช่น  C ที่ใช้กับพัดลม   C ที่ใช้กับปั๊ม     C ที่ใช้กับแอร์หรือเครื่องปรับอากาศ   เป็นต้น   คือมันจะเป็น  C  ใช้เฉพาะงานไปเลย
6)   งานกรองไฟให้เรียบหรือ  C  Filter ในวงจรเรียงกระแสไฟ  AC-DC   นิยมใช้ C ชนิดอิเล็กทรอไลต์เนื่องจากให้ค่าความจุที่สูงมาก  มีขนาดเล็กและราคาไม่แพง ถ้าใช้ C ชนิดฟิล์มที่มีค่าความจุสูงๆ ราคาจะแพงมากทำให้ต้นทุนการผลิตสูงมาก  อีกทั้งยังมีขนาดใหญ่กินพื้นที่มากด้วยจึงไม่นิยมใช้ C ชนิดฟิล์ม
7)   งานอื่นๆ    ให้สังเกตจากวงกลมด้านบนเพิ่มเติม  จะมีชนิดคาปาซิเตอร์และชื่อวงจรหรือการนำไปใช้งานต่างๆ    มันจะพื้นที่ทับซ้อน คืองานนี้สามารถใช้  C  ได้หลายชนิด  ให้ตั้งคำถามและสังเกตเพื่อสะสมข้อมูลไปเรือยๆ ว่า วงจรประเภทนี้เขานิยมใช้  C ชนิดอะไร  ?  ก็จะได้ข้อมูลจากงานจริงเพิ่มเติมนอกจากที่ได้อธิบายไว้ในบทความนี้     สำหรับนักศึกษาสาขาไฟฟ้า- อิเล็กทรอนิกส์มีการบ้าน ลองค้นหาข้อมูลหัวข้อต่อไปนี้เพิ่มเติมในเน็ตซึ่งใช้เวลาไม่มาก   เช่น    1. การแก้พาวเวอร์เฟคเตอร์นิยมใช้ C ชนิดอะไร  ?     2. วงจรครอสโอเวอร์เน็ตเวิร์ค นิยมใช้  C  ชนิดอะไร   ?    3.  C ในวงจรเครื่องเสียงเกรดดีๆ มีลักษณ์เป็นอย่างไร   4. วงจรที่เป็นสัญญาณพัลซ์นิยมใช้  C ชนิดอะไร   ?      เป็นต้น   หรืออาจค้นหาข้อมูลจากรูปในวงกลมได้ส่วนหนึ่ง  ลองใช้คำค้นว่า " วงจรครอสโอเวอร์ " ในกูเกิ้ลและดูรูป ก็จะเห็นรูป C ที่นิยมใช้กับวงจรครอสโอเวอร์ ( เป็นวงจรกรองความถี่เสียง )



วิธีการใช้มัลติมิเตอร์    วัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

 มี  15  บท    การใช้งานมัลติมิเตอร์   เพื่อวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

-   เช็ค ดี / เสีย  เป็น    
-   วัดอุปกรณ์เป็น   ครบอุปกรณ์ที่สำคัญ 

-     เตรียมตัวไปทำงาน หรือ สมัครงาน  มีพื้นฐานดี  สามารถต่อยอดไปได้ไกล  
         บริษัทหรือหน่วยงานต่างๆต้องการคนที่มีพื้นฐานดีและเตรียมพร้อมจะทำงาน  
         เมื่อเข้าไปทำงานแล้วใช้เวลาเรียนรู้งานไม่มาก
-    ลดต้นทุน    ใช้ของให้คุ้มค่า    อุปกรณ์หายากแล้วจำเป็นต้องซ่อมเพื่อใช้งานต่อ  
     ทำงานเกี่ยวกับการซ่อมบำรุง







อ่านได้ที่   Google Play Books      คลิกที่รูปปกหนังสือ  จะไปยังหน้าหนังสือให้
หรือ    ตามที่อยู่นี้   >>




หนังสือ   ebook  Google play books

                    ปก   หนังสือ  E- book  " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม " 
อ่านได้ที่   Google play books     มี   15  เรื่อง  ในเล่ม
มีรูปประกอบเยอะ          เข้าใจง่าย


อ่านที่   Mebmarket   ได้ทั้ง   Android   และ  IOS
Mebmarket ร้าน  E book ชั้นนำของไทย
ใช้ชื่อหนังสือค้นใน   google ก็เจอ  เช่นกัน 
ชื่อ :   การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม






สาธิตวิธีวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์   มีรูปประกอบเยอะและมีตัวอย่างชัดๆ  

>   เข้าใจง่ายเพราะมีรูปประกอบจำนวนมาก
>   สะดวกสำหรับยุคนี้  คือ   อ่านผ่าน App " Google Play Books "   ในมือถือ

สำหรับมือใหม่และคนที่สนใจการวัดอุปกรณ์ดีเสียเพื่อซ่อมวงจรและทำงานเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า      หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "  นี้
มีเนื้อหาถึง 15 บท โดยครอบคลุมการวัดอุปกรณ์ที่สำคัญ ๆ   อ่านได้ที่
Google  Play  Books   โดยทำตาม   2   ขั้นตอน   ต่อไปนี้

1)   ลง App  ก่อน  ชื่อแอป  Google Play Books    (อยู่ที่   Play Store  ในมือถือ )
2)  ค้นหาชื่อหนังสือ  ...... ค้นหาผ่าน google  ........โดยใช้ชื่อหนังสือค้น หรือ ใช้คำค้นว่า  
"  15 Lesson Test Electronic Components (Thai ) การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
หรือ   คลิกตามด้านล่างนี้   จะพาไปยังหน้าหนังสือนี้เลย    ที่  Google Play Books 




ตัวอย่าง หัวข้อในหนังสือ
ครบ การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ  หนังสือ " การวัดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานซ่อม "
มี 15 บท มีให้อ่านที่ร้านอีบุ๊คชั้นนำ    Google Play Books  
และ   MEBMARKET 
หนังสือสำหรับ ช่างซ่อม นักศึกษา วิทยาลัยเทคนิค อาชีวะ สายอาชีพ และผู้ทีสนใจหนังสือช่าง   
สารบัญมี    15 บท  ดังนี้
1)   วิธีวัดไอจีบีที       2)  วิธีวัดมอสเฟต     3) วิธีวัดไตรแอค     4)  วิธีวัดเอสซีอาร์    
5)   วิธีวัดทรานซิสเตอร์   6)   วิธีวัดไอซี  DIP   8   ขา  16 ขา   20  ขา      7)  วิธีวัดไอซี  OPTO     
8)   วิธีวัดไอซีเร็กกูเลเตอร์ตระกูล  78XX   79XX
9)   วิธีวัดไดโอด     10)  วิธีวัดซีเนอร์ไดโอด   11)   วิธีวัดไดโอดบริดจ์  ขั้นเทพ   
12)    วิธีวัด LED    13)  วิธีวัดตัวต้านทาน      14)   วิธีวัดตัวต้านทานปรับค่าได้  วัด VR     
15)    วิธีวัดคาปาซิเตอร์